สถาบันทางธุรกิจ
สถาบันทางธุรกิจ
ความหมายของสถาบันทางธุรกิจ
สถาบันทางธุรกิจ หมายถึง องค์กรที่ดำเนินธุรกิจที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อธุรกิจด้วยกันอย่างสอด คล้อง
ประเภท ของสถาบันทางธุรกิจ
1.1 สถาบันทางการเงิน ได้แก่
1.1.1 ธุรกิจธนาคาร หมายถึง ธุรกิจที่มีหน้าที่รับฝากและให้กู้ยืมเงิน แบ่งได้ 3 ประเภทคือ
ธนาคาร กลางหรือธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นธนาคารที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบการเงินของประเทศ บุคคลโดยทั่วไปไม่มีสิทธิเข้าไปเกี่ยวข้องหรือใช้บริการได้ ธนาคารพาณิชย์ เป็นธนาคารที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลมากที่สุดเป็นแหล่งเงินฝาก หรือกู้ที่สำคัญที่สุดของประชาชน และธุรกิจในประเทศ
ธนาคารเฉพาะ มีอยู่ 3 ธนาคาร คือธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารอาคารสงเคราะห์ เป็นธนาคารที่รัฐตั้งขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนในด้านต่าง ๆ
1.1.2 ธุรกิจบริษัทค้าหลักทรัพย์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หมายถึง การประกอบธุรกิจเป็นเงินทุนและหลักทรัพย์ จะต้องทำในรูปของบริษัทจำกัด และต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กระทำโดยการออกตราสารเครดิตในสัญญาใช้เงิน เพื่อกู้ยืมเงินจากประชาชนไปใช้ในกิจการบริษัทหรือนำไปกู้ยืมต่อ แต่อยู่ในวงเงินจำกัด การดำเนินงานของธุรกิจแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
ธุรกิจเงินทุน คือ ธุรกิจการจัดหาซึ่งที่มาของเงินทุนและใช้เงินซึ่งจัดหามานั้นไปประกอบกิจการ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ธุรกิจหลักทรัพย์ คือ การซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนตราสารแสดงสิทธิในหนี้หรือทรัพย์สิน หรือการกระทำหน้าที่เป็นตัวแทนนายหน้าแนะนำเกี่ยวกับการลงทุนในตราสาร
ธุรกิจเครดิต ฟองซิเอร์ คือ ธุรกิจที่ประกอบกิจการให้กู้ยืมเงินโดยวิธีการรับจำนอง รับซื้ออสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาขายฝาก
1.1.3 ธุรกิจประกันภัย
หมายถึง ธุรกิจที่ทำหน้าที่แบ่งเบาดภัยที่จะเกิดขึ้นกับการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งอาจจะเกิดความเสียหายกับทรัพย์สินหรือชีวิต ธุรกิจดังกล่าวจะช่วยเฉลี่ยความเสียหายที่จะเกกิดจากภัยนั้นให้เบาบางลงไป โดยผู้เอาประกันจะต้องเสียค่าเบี้ยประกันในการให้บริการ
การประกันภัยมี 2 ประเภท
1. การประกันชีวิต
2. การประกันวินาศภัยแบ่งออกเป็น
2.1 การประกันอัคคีภัย
2.2 การประกันภัยทางทะเล
2.3 การประกันภัยรถยนต์
2.4 การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
1.2 สถาบันอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ธุรกิจการขนส่ง
การขนส่งหมาย ถึง การนำสิ่งของ มนุษย์หรือสัตว์ จากที่หนึ่งไปยังจุดหมายปลายทางอีกแห่งหนึ่ง ต้องมีเครื่องอุปกรณ์ในการขนส่ง เช่น รถยนต์ รถไป หรือเครื่องบิน หรือสายท่อทางใดทางหนึ่ง
การขนส่งเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานอย่าง หนึ่งที่เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศในทางเศรษฐกิจ และเป็นกิจกรรมสาธารณะอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวันของชุมชนและธุรกิจ
หน้าที่และประโยชน์ของ สถาบันทางธุรกิจ
2.1 ธนาคารหรือธนาคารแห่งประเทศไทย
จัดตั้งเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2485 โดยมีพระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าววิวัฒนไชยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่ง ประเทศไทยเป็นพระองค์แรก เริ่มแรกมีสำนักงานที่อยู่ที่ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2488 จึงได้ย้ายมาที่บางขุนพรหม จนถึงปัจจุบัน
ธนาคารแห่งประเทศไทยมี 3 สาขา คือ
สาขา ภาคใต้ สำนักงานอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น
สาขาภาคเหนือ สำนักงานอยู่ที่จังหวัดลำปาง
มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ออกและพิมพ์พันธบัตรซึ่งในการพิมพ์ใช้แต่ละครั้งจะต้องมีทุนสำรองเงินตรา หนุนหลังอยู่เสมอ
2. เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์โดยทำหน้าที่
2.1 เก็บรักษาเงินสดสำรองตามกฎหมายจากยอดเงินฝากของธนาคารพาณิชย์
2.2 เป็นแหล่งเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์
3. ทำหน้าที่ทางด้านการเงินแทนรัฐ โดยมีหน้าที่
3.1 เก็บรักษาเงินฝากของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ
3.2 เป็นแหล่งเงินกู้ให้รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ
3.3 จำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล
3.4 จัดการหนี้สินทั้งภายในและภายนอกแทนรัฐบาล
4. เป็นผู้ควบคุมการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์
5. การควบคุมอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราภายในประเทศ
6. เป็นสำนักหักบัญชีระหว่างธนาคารโดยธนาคารแต่ละแห่งไม่ต้องเรียกเก็บเงินกัน เอง
2.2 ธนาคารพาณิชย์
ธนาคาร พาณิชย์หมายถึง การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่จะต้องจ่ายเงินเมื่อทวงถามหรือสิ้นระยะ เวลาอันได้กำหนดไว้ หรือใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น ให้กู้ยืมซื้อหรือขาย หรือเก็บเงินตามตั๋วแลกเงิน ซื้อหรือขายเงินปริวรรตต่างประเทศ
เริ่มมีในประเทศไทยในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยอังกฤษ ได้มาจัดตั้งสาขาของธนาคารขึ้นในประเทศไทย เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2431 คือธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ โดยในปัจจุบันธนาคารในประเทศไทยของคนไทยมีจำนวน 15 ธนาคาร (เป็นสาขาของต่างประเทศอีก 14 ธนาคาร) รายชื่อธนาคารในประเทศไทยของคนไทย มีดังนี้
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด
ธนาคารทหารไทย จำกัด
ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด
ธนาคารศรีนคร จำกัด ลฯ
มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. บริการรับฝากเงิน
1.1 เงินฝากออมทรัพย์ มีจุดประสงค์ที่จะส่งเสริมให้ประชาชนเก็บออม โดยเปิดบัญชีครั้งแรก 100 บาท
1.2 เงินฝากแบบประจำ เป็นแบบของการเก็บออมของผู้มีเงินได้ค่อนข้างประจำ เปิดบัญชีครั้งแรกไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท
1.3 เงินฝากกระแสรายวัน ส่วนมากจะทำแต่พ่อค้าหรือนักธุรกิจ เปิดบัญชีครั้งแรกไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท การโอนบัญชีต้องใช้เช็คและต้องใช้ไม่ต่ำกว่า 10 บาท
1.4 เงินฝากประเภทอื่น ๆ เป็นเงินฝากที่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของธนาคารหรือกลยุทธ์ในด้านการส่ง เสริมด้านการตลาดของธนาคาร
2. บริการเงินกู้
2.1 การเบิกเงินเกินบัญชี เป็นการกู้ที่ได้รับความนิยมที่สุด
2.2 การใช้เงินกู้ระยะสั้น - ระยะยาว ต้องตกลงกับธนาคารโดยมีหลักทรัพย์ค้ำประกันการชำระเงินอาจทำได้โดยการผ่อน ชำระเป็นงวด ๆ ตั้งแต่ 1 - 25 ปี
2.3 การรับซื้อลดตั๋ว เมื่อผู้ส่งตั๋วมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนตั๋วนั้นถึงกำหนดเวลา
2.4 การรับรองตั๋ว หมายถึง การรับรองจากธนาคารว่าผู้ทรงตั๋วจะได้รับเงินแน่นอน
2.5 การอาวัล หมายถึง การที่ธนาคารรับประกันการจ่ายเงินแทนเจ้าของตั๋วทั้งหมดหรือบางส่วน
3. บริการด้านการต่างประเทศ
3.1 การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตลาดต่างประเทศ
3.2 การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit) การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ3.2.1 เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ได้ทุกเวลา แต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น
3.2.2 เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม
4. บริการอื่น ๆ
4.1 การใช้บริการบัตรเครดิต
4.2 การใช้บริการเงินด่วนทางเครื่องเอทีเอ็ม
4.3 การให้บริการคุ้มครองอุบัติเหตุ
4.4 การให้บริการเช่าตู้นิรภัย
4.5 การบริการชำระเงินค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ
4.6 การโอนเงินด้วยระบบ ON-LINE
4.7 การเตรียมเงินไว้จ่ายเงินเดือน
4.8 การเรียกเก็บเงิน
4.9 การบริการเช็คของขวัญ
4.10 การเป็นผู้จัดการมรดก
4.11 ให้การแนะนำด้านการลงทุน
4.12 การหาผลประโยชน์ให้เจ้าของเงินทุน
4.13 การให้ข้อมูลทางเครดิต
4.14 รับชำระภาษีรถยนต์ประจำปี
2.3 ธนาคารออมสิน
พระ บาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงสนพระทัยวิธีการของทางออมสินเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ ทรงเริ่มนำเอากิจการด้านธนาคารออมสินมาใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ 2450 โดยทดลองรับฝากเงินขึ้นเรียกว่า "แบงค์ลีฟอเทีย" และประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2456 เพื่อจัดตั้งคลังออมสิน
มีหน้าที่ต่อไปนี้
1. ทำหน้าที่ระดมเงินออม ทำหน้าที่ในการส่งเสริมการออมทรัพย์ของประชาชนในการรับฝากเงินและบริการ ประเภทต่าง ๆ
2. แหล่งเงินกู้ภายในประเทศของรัฐบาล
3. การส่งเสริมการออมทรัพย์โดยจัดตั้งหน่วยงานทำหน้าที่ในการดำเนินงานส่งเสริม การออมทรัพย์ในเขตกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง เรียกว่า "กองการส่งเสริมการออมทรัพย์"
4. การมีส่วนส่งเสริมตลาดทุนและตลาดเงิน ธนาคารออมสินได้ทำหน้าที่จำหน่าย พันธบัตรรัฐบาล เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล
2.4 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
เมื่อ พ.ศ. 2490 รัฐบาลได้จัดตั้งธนาคารเพื่อการเกษตรขึ้น เพื่อเป็นแหล่งกลางทางการเงินของกระบวนนการสหกรณ์เพื่อการระดมทุนให้สหกรณ์ นำไปใช้ ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ได้นำไปให้เกษตรกรกู้ ประมาณร้อยละ 5 ของเกษตรกรทั่วประเทศ โดยจัดตั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ขึ้นแทน ธ.ก.ส. เป็นรัฐวิสาหกิจ ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามนโยบายพิเศษของรัฐบาลต่อเนื่องมาจากธนาคารเพื่อ การสหกรณ์เดิม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2509 เป็นต้นมา
มีหน้าที่ต่อไปนี้
1. ให้สินเชื่อการเกษตรแก่สถาบันการเกษตรและเกษตรกร
2. ส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรและสถาบันเกษตรประกอบกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องจาก เกษตรกร
3. ส่งเสริมสนับสนุนการตั้งสหกรณ์การตลาดในหมู่เกษตรกร
4. ส่งเสริมการออมเงินของเกษตรกรและชาวชนบท
5. สร้างสรรค์โอกาสในการช่วยเหลือตนเองในหมู่ของเกษตรกร
2.5 ธนาคารอาคาร สงเคราะห์
ธนาคารอาคารสงเคราะห์สังกัดกระทรวงการคลัง ก่อตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 ในปี 2515 รัฐบาลสมัยจอมพลถนอม กิติขจร ได้ตั้งหน่วยงานเคหะขึ้นและได้โอนกิจการเกี่ยวกับการเช่าซื้อที่ดิน การให้เช่าซื้อที่ดินหรืออาคารของธนาคารอาคารสงเคราะห์ไปขึ้นอยู่กับการเคหะ แห่งชาติ
มีหน้าที่ต่อไปนี้
1. รับฝากเงิน 5 ประเภท ได้แก่เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ เงินฝากประจำ และเงินฝากออมทรัพย์สินเคหะ
2. ให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อที่ดิน และอาคารเป็นของตนเอง
3. รับจำนำหรือจำนองทรัพย์สินเพื่อเป็นการประกันเงินกู้
2.6 บริษัทค้าหลักทรัพย์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
มีหน้าที่และประโยชน์ คือ
1. กระจายความเสี่ยงในการลงทุน
2. การลงทุนผ่านบริษัทย่อมดีกว่า ลดภาระกับผู้ลงทุนรายย่อย
3. การลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ช่วยให้มีการออมเงินในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจส่วน รวม
4. การกระจายรายได้เป็นธรรมขึ้น
2.7 ธุรกิจประกันภัย
ปัจจุบันธุรกิจประกันชีวิต มี 12 บริษัท เป็นบริษัทประกันชีวิตของไทย 11 บริษัท และสาขาของบริษัทต่างประเทศอีก 1 บริษัท ดังนี้
1. บริษัท อินเตอร์ไลฟ์ประกันภัย จำกัด
2. บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด
3. บริษัท ไทยประสิทธิประกันภัย จำกัด
4. บริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต จำกัด
5. บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด
6. บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด
7. บริษัท สมุทรพาณิชย์ประกันภัย จำกัด
8. บริษัท ประกันชีวิตศรีอยุธยา จำกัด
9. บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด
10. บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันชีวิต จำกัด
11. บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด
12. บริษัท เอ.ไอ.เอ จำกัด
คำศัพท์ที่สำคัญที่ ควรเข้าใจในธุรกิจประกันภัย
1. ผู้เอาประกัน (Insured or Assured) หมายถึง ผู้ที่แสดงความจำนงจะทำสัญญาประกันภัยกับผู้รับประกันและ ยินดีจ่ายเบี้ยประกัน
2. ผู้รับประกัน หมายถึง บริษัทผู้รับประกันภัยที่ยินยอมรับเบี้ยประกันจากผู้เอาประกันและยินยอมใช้ ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยที่รัฐคุ้มครองนั้น
3. ผู้รับประโยชน์ หมายถึง บุคคลที่จะเป็นผู้รับประโยชน์จากค่าสินไหมทดแทนตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ซึ่งผู้รับประโยชน์อาจเป็นคน ๆ เดียวกับผู้เอาประกันก็ได้
4. กรมธรรม์ประกันภัย หมายถึง สัญญาที่ระบุเงื่อนไขต่าง ๆ ระหว่างผู้รับประกันและผู้เอาประกัน
หน้าที่และประโยชน์ของ ธุรกิจประกันภัยมีดังนี้
1. ทำให้เกิดหลักประกันที่มั่นคงในการดำเนินธุรกิจ
2. ช่วยให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนหรือส่วนรวม
3. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
4. ช่วยสร้างหรือเพิ่มเครดิตในการประกอบธุรกิจ
5. ทำให้เกิดความมั่นคงในครอบครัว
2.8 ธุรกิจการขนส่ง
หลักในการพิจารณาเลือกเส้นทางและประเภทการขน ส่งคือ
1. จุดหมายปลายทาง
2. ชนิดของสิ่งของที่ต้องการขนส่ง
. ขนาดและน้ำหนักของสิ่งที่ต้องการขนส่ง
4. ความเร่งด่วนในการใช้ของสิ่งนั้น
5. ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง
ปัจจุบันมีการจัดกระบวนการขนส่งตาม ประเภทและความเหมาะสมของสิ่งของที่จะทำการขนส่ง 6 ทาง ซึ่งมีหน้าที่และประโยชน์ ดังนี้
1. การขนส่งทางเรือ เป็นการขนส่งที่เก่าแก่ที่สุดเหมาะกับการขนส่งสิ่งของที่มีน้ำหนักมากและทน ทานต่อการเน่าเสีย
2. การขนส่งทางรถยนต์ เหมาะกับการขนส่งสิ่งของที่มีน้ำหนักมากใช้เวลาไม่มากนักต้องการความรวดเร็ว ในการขนส่ง เป็นการขนส่งถึงหน้าประตูบ้าน
3. การขนส่งทางรถไฟ เหมาะกับการขนส่งสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ใช้เวลาในการขนส่งมากกว่ารถยนต์ แต่มีความปลอดภัยมากกว่ารถยนต์
4. การขนส่งทางอากาศ เป็นการขนส่งที่เร็วที่สุด เหมาะกับการส่งสินค้าที่ต้องการความเร่งด่วน เน่าเสียง่าย
5. การขนส่งด้วยระบบคอนเทนเนอร์ เป็นการขนส่งโดยบรรจุสิ่งของภายในตู้คอนเทนเนอร์ ช่วยให้ประหยัดเวลาในการยกขน ให้ความปลอดภัยและความรวดเร็วกับสิ่งของที่ทำการขนส่ง
คุณลักษณะของนักธุรกิจ
บุคลิกภาพของนักธุรกิจหมายถึงลักษณะท่าทาง หน้าตา การแต่งกาย และการวางตัวซึ่งนักธุรกิจควรจะทำให้เกิดความศรัทธาและน่าเชื่อถือ ในขณะเดียวกันควรจะมีความเฉลียวฉลาดและไหวพริบในการดำเนินธุรกิจซึ่ง บุคลิกภาพของนักธุรกิจที่ควรมีได้แก่
1. การแต่งกายที่สุภาพ สะอาดตา
2. มีอัธยาศัย ยิ้มแย้ม แจ่มใส
3. มีความเชื่อมั่นในตนเอง
4. เป็นผู้มีไหวพริบดี
5. เป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดี
6. เป็นผู้มองการณ์ไกล
7. มีความอดทน
8. กล้าที่จะประสบกับการขาดทุน ฯลฯ
ที่มาhttps://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=7389