การละเมิดที่นาย จ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้าง

10 กย. 57     71933
 การ ประกอบธุรกิจไม่ว่าขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กเพียงใด  ก็ จำเป็นต้องมีลูกจ้างมาช่วยเหลือการดำเนินงาน เพื่อให้ธุรกิจเจริญรุ่งเรื่องตามความมุ่งหมาย ซึ่งการทำงานของลูกจ้างก็เพื่อประโยชน์ของนายจ้าง

            แต่ยาม ใดลูกจ้างไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นหรือที่เรียกว่าทำละเมิดนั้น นายจ้างต้องร่วมรับผิดในความเสียหายด้วย ถ้าการทำละเมิดของลูกจ้างได้ทำไปในทางการที่จ้างหรือตามคำสั่งของนายจ้าง

            ในการ ร่วมรับผิดของนายจ้างนั้นจะไม่มีการจำกัดขอบเขตของงานที่ลูกจ้างได้ปฎิบัต ิหน้าที่ไว้อย่างแน่นอน โดยนายจ้างอาจจะออกคำสั่งบังคับบัญชาให้ลูกจ้างของตนปฏิบัติอย่างใดอย่าง หนึ่งนอกเหนือจากหน้าที่ที่ทำอยู่ก็ได้

            เช่น นายจ้างใช้ให้พนักงานบัญชีขับรถของบริษัทไปรับสินค้า แต่ปรากฎว่าพนักงานบัญชีขับรถไปชนผู้อื่น เหตุดังกล่าวนายจ้างจะอ้างว่าไม่ใช่ในทางการที่จ้างแต่เป็นเรื่องของการไหว้ วานเป็นสินน้ำใจไม่ได้ เพราะได้ทำไปเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานและปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้าง

            แต่มี ปัญหาว่าการทำงานในวันหยุดหรือล่วงเวลางาน หรือแม้แต่ในเวลาพักกลางวันแล้วไปก่อเหตุละเมิดนายจ้างต้องร่วมรับผิดหรือ ไม่ ก็ต้องพิจารณาว่างานนั้นเพื่อประโยชน์ของนายจ้างหรือไม่ ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับกิจการของนายจ้างก็คงต้องถือว่าเป็นไปในทางการที่ จ้าง

            และใน กรณีที่บริษัททีกฏข้อบังคับที่กำหนดให้ลูกจ้างปฏิบัติไว้อย่างชัดเจนและ ลูกจ้างฝ่าฝืนกฎข้องบังคับนั้น ๆ จนทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ในจ้างก็ไม่สามารถจะอ้างการฝ่าฝืนข้อบังคับของลูกจ้างมาเพื่อปฏิเสธความรับ ผิดจากการละเมิดนั้นได้

            เช่น บริษัทมีข้อบังคับว่า ห้ามพนักงานขับรถออกนอกเส้นทางในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ นายจ้างใช้ลูกจ้างให้ขับรถขนดินไปส่งแก่ลูกค้า แต่ปรากฎว่าเมื่อถึงเวลาเที่ยงลูกจ้างขับรถออกนอกเส้นทางเพื่อไปรับประทาน อาหารกลางวัน ซึ่งเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎข้อบังคับ แล้วเกิดไปเฉี่ยวชนผู้อื่น นายจ้างก็คงต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในความเสียหายนั้น เพราะลูกจ้างได้กระทำไปในระหว่างปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง

            แต่ถ้า เป็นกรณีว่านายจ้างใช้ลูกจ้างไปส่งของให้ลูกค้า เมื่อไปถึงลูกจ้างเกิดทะเลาะกับลูกค้าถึงขั้นชกต่อยกัน เหตุอย่างนี้นายจ้างไม่ต้องรับผิดในละเมิดร่วมกับลูกจ้าง เพราะถือเป็นเรื่องส่วนตัว

            ในบาง ครั้งผู้ประกอบการที่เป็นนายจ้างก็อาจจะใช้วิธีให้ลูกจ้างทำข้อตกลงไว้กับ นายจ้างก่อน โดยตกลงยกเว้นว่านายจ้างไม่ต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในความเสียหายอันเกิด จากการทำละเมิดในทางการที่จ้างของลูกจ้าง ซึ่งการทำข้อตกลงยกเว้นความรับผิดดังกล่าวนั้น นายจ้างไม่สามารถนำมาอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อบุคคลดภายนอกซึ่งได้รับ ความเสียหายนั้นได้ เพราะการกระทำละเมิดดังกล่าวก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่บุคคลอื่นซึ่งไม่ ได้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในธุรกิจ

            เมื่อ นายจ้างได้ชดใช้ความเสียหายจากการทำละเมิดของลูกจ้างไปแล้วก็ใช่ว่าจะเสีย เปล่า นายจ้างยังมีสิทธิที่จะเรียกคืนหรือที่เรียกว่าไล่เบี้ยเอากับลูกจ้างที่ทำ ละเมิดได้ เพราะความรับผิดของนายจ้างเป็นความรับผิดที่กฎหมายกำหนดเพื่อคุ้มครองผู้ เสียหายเป็นสำคัญ ซึ่งนายจ้างอยู่ในฐานะที่จะเยียวยาความเสียหายได้ดีกว่าลูกจ้าง เนื่องจากนายจ้างย่อมมีฐานะเศรษฐกิจดีกว่าลูกจ้างนั่นเอง

            การไล่ เบี้ยก็คือการรับช่วงสิทธิจากเจ้าหนี้ละเมิดหรือผู้ได้รับความเสียหาย ซึ่งนายจ้างจะรับช่วงสิทธิได้เพียงเฉพาะค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ยที่ได้ ชดใช้ให้กับบุคคลภายนอกเท่านั้น ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่นายจ้างต้องเสียไปในการต่อสู้คดีด้วย เช่น ค่าทนายความ เป็นต้น

            โดยใน การที่จะดูว่าเป็นนายจ้างและลูกจ้างกันอย่างไรเพื่อจะกำหนดว่าต้องรับผิด ร่วมกันหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาถึงความสัมพันธ์ว่าเป็นการจ้างแรงงานหรือเป็นการจ้างทำของ เพราะการจ้างแรงงานนั้นนายจ้างสามารถออกคำสั่งให้ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่ ต่างๆ และบังคับบัญชาได้ แต่การจ้างทำของผู้ว่าจ้างไม่สามารถจะมีคำสั่งในระหว่างทำงานหรือบังคับ บัญชาผู้รับจ้างได้ เนื่องจากการจ้างทำของมุ่งหวังความสำเร็จของชิ้นงานที่ว่าจ้างเป็นสำคัญ ผู้รับจ้างจึงไม่ได้อยู่ในฐานะลูกจ้าง เมื่องผู้รับจ้างไปทำความเสียหายให้แก่บุคคลอื่น ผู้ว่าจ้างจึงไม่ต้องร่วมรับผิดชอบด้วยแต่อย่างใด

            ดัง นั้น เพื่อที่จะเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดกับบุคคลอื่น ๆ  และกิจการของท่านผู้ประกอบการเอง ท่านก็ควรจะต้องมีความระมัดระวังในการเลือกรับลูกจ้างเข้าทำงาน โดยควรพิจารณาถึงบุคคลที่มีความประพฤติดี และมีความละเอียดรอบคอบ

            แต่หาก เป็นกรณีที่ลูกจ้างของท่านได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างดีแล้ว เกิดความเสียหายขึ้นเพราะเป็นเหตุสุดวิสัย หรือเป็นเรื่องที่ไม่อาจคาดเดาได้ โดยท่านก็ไม่ได้ชดใช้ค่าเสียหายมากนัก ท่านก็ควรจะพิจารณาว่าจะไปไล่เบี้ยเอากับลูกจ้างหรือไม่

            เพราะ บางครั้งค่าเสียหายที่ได้จ่ายไปนั้นอาจจะน้อยกว่าสิ่งที่ลูกจ้างได้เคยทำ ประโยชน์ให้แก่กิจการของท่าน ซึ่งถ้าท่านไม่ไปไล่เบี้ยแต่กับยกประโยชน์ให้กับลูกจ้าง ลูกจ้างอาจทำรายได้หรือสร้างความรุ่งเรืองให้แก่กิจการของท่านในอนาคตได้ มากกว่าเงินที่ท่านต้องเสียไปก็ได้

ที่มา https://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=7984