 |
ลิงคีปันจิ |
|
 |
5. ลิงคีปันจิ (Kipunji) หรือ รุงเวเซบัส คีปันจิ(Rungwecebus kipunji) ดร.ทิม ดาเวนพอร์ท (Dr.Tim Davenport) ผู้อำนวยการสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (Wildlife Conservation Society: WCS) ในแทนซาเนีย กล่าวว่าลิงชนิดมีความพิเศษและคาดว่าเหลือในธรรมชาติไม่เกิน 1,200 ตัว และเป็นลิงสกุล (genus) ใหม่ที่ถูกค้นพบเมื่อ 80 ปีที่แล้ว และแม้ว่าจะเป็นญาติใหล้ชิดกับลิงบาบูน แต่ลิงคีปันจิไม่ได้อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าสวันนาเหมือนกัน หากแต่อาศัยอยู่บนต้นไม้ และเพื่อปรับตัวอาศัยอยู่ป่าที่มีต้นไม้สูง ลิงชนิดนี้จึงวิวัฒนาการให้มีขนที่หนายาว มีเครายาว และมีโหนกสูงที่หัว ดร.ดาเวนพอร์ทกล่าวว่าปลายหางสีขาวของลิงอาจใช้เพื่อการสื่อสารบนยอด ไม้ และลิงชนิดนี้ยังคงมีบางพฤติกรรมคล้ายคลึงกับลิงบาบูน นอกจากนี้ยังมีเสียงร้องเห่าหอนอันดังและแตกต่างไปจากลิงอื่นๆ ส่วนถิ่นที่อยู่นั้นเป็นป่า 2 แห่งที่ครั้งหนึ่งเคยเชื่อมกัน โดยมีพื้นขวางกั้นกว้าง 350 กิโลเมตร แต่ลิงเหล่านี้ก็กำลังถูกคุกคามจากการสูญเสียพื้นที่ป่าไปเพื่ออุตสาหกรรม การตัดไม้ การเกษตร การผลิตถ่านกิน รวมถึงการถูกล่า สถานการณ์ของไพรเมทชนิดนี้คล้ายกับไพรเมทขนาดเล็กๆ ทั้งหลาย ซึ่งตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ก่อนที่เราจะได้รู้จัก
ข้อมูลจาก : manager.co.th
|