ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย

29 มค. 56     145148

ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย

ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย

สำนวนสุภาษิตไทย

ความหมายของสำนวนสุภาษิต
สำนวน เป็นคำกล่าวที่คมคาย กะทัดรัดงดงาม และฟังดูไพเราะจับใจ รวมเนื้อความของเรื่องยาว ๆ ให้สั้นลง เป็นคำกล่าวที่ใช้ถ้อยคำเพียงเล็กน้อย แต่กินความหมายลึกซึ้ง
สุภาษิต หมายถึง คำกล่าวที่ดีงาม เป็นคำสั่งสอนที่มุ่งแนะนำให้ปฏิบัติ ให้ประพฤติดี ประพฤติชอบ หรือให้ละเว้น


ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง    หมายถึง    คนเราจะสวยได้ก็ด้วยการรู้จักแต่งตัว

 

 

 

 

 

 

สำนวน สุภาษิต คำพังเพย

สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำที่สั่งสอนหรือห้ามโดยตรง มีคำเปรียบเทียบบ้างไม่มีบ้าง เช่น คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ, อย่าถือคนบ้า อย่าว่าคนเมา, น้ำเชี่ยว อย่าขวางเรือ

คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำที่แสดงความจริง ไม่ได้สอนโดยตรง อาจจะเป็นคำพังเพยแท้ก็ได้ เป็นสำนวนก็ได้ เป็นคำขวัญก็ได้ คำพังเพยแท้เช่น มีเงินเขานับว่าน้อง มีทองเขานับว่าพี่, ยากเงิน จนทอง พี่น้องไม่มี, มีเงินทอง พูดจาได้ มีไม้ไร่ ปลูกเรือนงาม, รู้แล้วพูดไปสองไพเบี้ย รู้แล้วนิ่งเสียตำลึงทอง

สำนวน มักเป็นคำเปรียบเทียบ คือให้นำความเป็นไปของสิ่งนั้นๆ มาเปรียบเทียบกับความประพฤติของคน เช่นคำว่า ขิงก็รา ข่าก็แรง, ปลาร้าเค็ม มะเขือขื่น, ตัวเท่าเสา เงาท่ากระท่อม, น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย

คำขวัญ มักเป็นคำปลอบขวัญหรือปลุกใจให้มุ่งมั่น เช่นคำว่า กรุงศรีอยุธยายังไม่สิ้นคนดี (หมายถึงเมืองไทยยังไม่สิ้นคนดี) ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ, ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม

คำพังเพยที่มีผู้นำมาแต่งเป็นสำนวนกลอนไว้ เป็นต้นว่า

  • กินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง
  • เรือล่มเมื่อจอด ตาบอดเมื่อแก่
  • นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น
  • หน้าชื่นอกตรม ลับลมคมใน
  • ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด
  • มะพร้าวตื่นดก ยาจกตื่นมี
  • ใจดีสู้เสือ ใกล้เกลือกินด่าง
  • ไม่ฟังอย่าสอน ไม่วอนอย่าบอก
  • คนนอนอย่าบอก คนปอกอย่าเชื่อ
  • สู้จนยิบตา ชอบมาพากล
  • จุดไต้ตำตอ ขุดบ่อล่อปลา
  • กิ้งก่าได้ทอง กันดีกว่าแก้
  • จูบลูกถูกแม่ มิตรจิตมิตรใจ
  • ห่างลอดตัวเล็น ตีตนก่อนไข้
  • ใครดีใครได้ ต้นร้ายปลายดี
  • ตาบอดได้แว่น หัวล้านได้หวี
  • จับนั่นจับนี่ เข้าพระเข้านาง
  • อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน
  • กินน้ำใต้ศอก ต้นข้าวคอยฝน
  • หว่านพืชหวังผล ผิดหูผิดตา
  • หน้าเนื้อใจเสือ ไปตายดาบหน้า
  • เข้าเถื่อนลืมพร้า น้ำน้อยแพ้ไฟ

ส่วนสำนวนซึ่งมักพูดเป็นลีลาก็มีคำกลอนอยู่มาก เป็นต้นว่า

  • ตกไร้ได้ยาก อดอยากปากแห้ง
  • เคราะห์หามยามร้าย หวดซ้ายป่ายขวา
  • ตัวสั่นงันงก ตีอกชกหัว เจ้าถ้อยร้อยความ
  • ถ้วยชามรามไห เก็บหอมรอมริบ
  • กำเริบเสิบสาน หอมหวนทวนลม
  • ชื่นชมสมหมาย หิวโหยโรยแรง
  • ฟักแฟงแตงกวา ภูเขาเลากา
  • มืดหน้าตามัว ก่อร่างสร้างตัว
  • ตกลงปลงใจ ป่าดงพงไพร อาศัยไหว้วาน
  • เอื้อเฟื้อเจือจาน เจ้าขุนมูลนาย
  • มืดหน้าตาลาย เหลือบ่ากว่าแรง

 

หมวด ก
ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง    หมายถึง    คนเราจะสวยได้ก็ด้วยการรู้จักแต่งตัว
กินบนเรือนขี้รดบนหลังคา    หมายถึง    คนที่เนรคุณ
กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้    หมายถึง    ช้าเกินการ ได้อย่างเสียอย่าง
กิ้งก่าได้ทอง    หมายถึง    คนที่ได้ดี ลืมตัว ลืมอดีต
กินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง    หมายถึง    ตัวเองรู้เอง ทำเอง
ไก่แก่แม่ปลาช่อน    หมายถึง    ผู้หญิงสูงอายุ ที่มีเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว
ใกล้เกลือกินด่าง    หมายถึง    ใกล้ของดี แต่ไม่ได้กิน
ก่อกรรมทำเข็ญ    หมายถึง    ทำให้ยุ่งยากลำบากใจ
กิ่งทองใบหยก    หมายถึง    คู่แต่งงานที่เหมาะสมกัน
กินข้าวร้อนนอนสบาย    หมายถึง    เกียจคร้าน ขอบทำอะไรจวนตัว

หมวด ข
ขิงก็ราข่าก็แรง    หมายถึง    ต่างฝ่ายต่างแรงด้วยกัน
ขี้ริ้วห่อทอง    หมายถึง    ดูภายนอกไม่สวยงามแต่ข้างในมีค่ามาก
ข้าวยากหมากแพง    หมายถึง    เกิดขัดสนอาหารขึ้นในบ้านเมือง
ไข่ในหิน    หมายถึง    ของที่ระมัดระวังอย่างมาก
ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน    หมายถึง    ทำอาการโกรธจัดเต็มที่
ขมิ้นกับปูน    หมายถึง    เป็นศัตรูกัน เข้ากันไม่ได้
ขี้หมูรา ขี้หมาแห้ง    หมายถึง    เรื่องเล็ก ๆ น้อย
ข้าวใหม่ปลามัน    หมายถึง    คนที่แต่งงานกันใหม่ ๆ ย่อมมีความสุขสดชื่น
ขว้างงูไม่พ้นคอ    หมายถึง    ไม่รู้ว่าจะทำอย่าไรดี
เขียนเสือให้วัวกลัว    หมายถึง    ขู่หรือหลอกให้กลัว
    
หมวด ค
คางคกขึ้นวอ    หมายถึง    คนถ่อยหรือต่ำช้า
คาบลูกคาบดอก    หมายถึง    คับขัน สองแง่สองมุม ครึ่งดีครึ่งเสีย
คตในข้องอในกระดูก    หมายถึง    ไม่ซื่อ
คบคนจรหมอนหมิ่น    หมายถึง    คบกับคนที่ไม่รู้จักกันดี อาจมีอันตรายได้ง่าย
คลื่นกระทบฝั่ง    หมายถึง    เอะอะเอาประเดี๋ยว แล้วก็เงียบหายไป
คู่เรียงเคียงหมอน    หมายถึง    การเป็นสามีภรรยากัน
คอตก    หมายถึง    ผิดหวังอย่างแรง
คอเป็นเอ็น    หมายถึง    เถียงอย่างไม่ลดละ
คมในฝัก    หมายถึง    เก่งแต่เงียบไว้ไม่โอ้อวด
คิดบัญชี    หมายถึง    แก้แค้น

หมวด ง
งูกินหาง    หมายถึง    พัวพันนุงนัง
งอมพระราม   หมายถึง     ตกทุกข์เหมือนพระรามต้องถูกขับไล่ไปอยู่ป่า
เงาตามตัว    หมายถึง    ไปไหนไปด้วย
เงื้อมมือ   หมายถึง     อำนาจที่ครอบงำ ไม่ให้หลุดไปได้
งมเข็มในมหาสมุทร    หมายถึง    งานที่ยากลำบาก
งูเงี้ยวเขี้ยวขอ     หมายถึง   เป็นคำเตือนของผู้ใหญ่ ไม่ให้ไปไหนเวลากลางคืน
เหงื่อไหลไคลย้อย     หมายถึง   ออกแรงทำงานหนัก ๆ
โง่เง่าเต่าตุ่น    หมายถึง    โง่เหลือเกิน
เงื้อง่าราคาแพง   หมายถึง     เมื่อคิดจะทำอะไรใครก็ลงมือทำเลย อย่ามัวเงื้อไม้เงื้อมือ


หมวด จ
ใจปลาซิว    หมายถึง    ไม่อดทน
จิ้งจกตีนศาล    หมายถึง    พวกกระจอกงอกง่อย
เจ้ายศเจ้าอย่าง    หมายถึง    ถือตัวถือศักดิ์ มีพิธีรีตรอง
เจ้าชู้ประตูดิน    หมายถึง    เจ้าชู้ที่เกี้ยวไม่เลือกหน้า
เจ้าชู้ไก่แจ้    หมายถึง    เจ้าชู้ที่ชอบกรีดกรายไปมา
จับเสือมือเปล่า    หมายถึง    การทำงานโดยไม่ได้ลงทุน
จับแพะชนแกะ    หมายถึง    เอาทางโน้นมาใช้ทางนี้
จูบคำถลำแดง    หมายถึง    มุ่งอย่างหนึ่ง กลับไปได้อีกอย่างหนึ่ง

หมวด ฉ
เฉโก    หมายถึง    ฉลาดแกมโกง
แฉโพย    หมายถึง    เปิดให้เห็นความลับ
ฉับพลันทันด่วน    หมายถึง    โดยเร็ว
ฉลาดแกมโกง    หมายถึง    ฉลาดในทางทุจริต
ฉิบหายขายตน    หมายถึง    ล่มจม
ฉิบหายวายป่วง     หมายถึง   ล่มจม
ฉกชิงวิ่งราว    หมายถึง    พวกที่ถือโอกาสแย่งชิงทรัพย์
ฉ้อราษฎร์บังหลวง     หมายถึง   เบียดบังเงินหลวง

หมวด ช
ชักใบให้เรือเสีย    หมายถึง    ทำเรื่องให้แชเชือน
ชักแม่น้ำทั้งห้า    หมายถึง    ยกเหตุผลหว่านล้อม
ชักหน้าไม่ถึงหลัง    หมายถึง    ใช้จ่ายไม่เพียงพอ
ชักธงขาว    หมายถึง    ยอมแพ้
ชักน้ำเข้าลึกชักศึกเข้าบ้าน    หมายถึง    นำข้าศึกหรือศัตรูเข้าบ้านเมือง
ชาติเสือไม่ทิ้งลาย    หมายถึง    คนเก่งย่อมมีแววปรากฏอยู่
ชิงสุกก่อนห่าม    หมายถึง    กระทำในสิ่งที่ไม่ถึงเวลา
ชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้    หมายถึง    ว่าอะไรว่าตามกัน
ชี้โพรงให้กระรอก    หมายถึง    ชี้ช่องให้คนร้าย
ชุบมือเปิบ    หมายถึง    ฉวยเอาผลประโยชน์เมื่อคนอื่นทำสำเร็จแล้วโดยมิต้องลงทุน

หมวด ซ
ซุ่มคม    หมายถึง    ซ่อนความฉลาดไว้ไม่อวดดี
ซื้อดีกว่าขอยืม     หมายถึง   อย่าหวังพึ่งพาผู้อื่น
ซื่อตรงจงรัก    หมายถึง    ภักดี
ซาบซึ้งตรึงใจ    หมายถึง    ถูกใจมากจนจำได้แนบเนียน
ซัดเซพเนจร    หมายถึง    เที่ยวไปเรื่อย ๆ ไม่มีจุดหมาย
ซื้อร่มหน้าฝน    หมายถึง    ซื้อของโดยไม่วางแผนล่วงหน้าย่อมได้ราคาแพง
ซื่อเหมือนแมวนอนหวด    หมายถึง    ซื่อจนเซ่อ
ซังกะตาย    หมายถึง    ทนอยู่อย่างไม่มีความหวัง ฝืนใจ อย่างเสียมิได้

หมวด ด
ได้พี่เสียดายน้อง    หมายถึง    ได้ของสิ่งหนึ่ง ยังเสียดายอยากได้อีกสิ่งหนึ่ง
ดาบสองคม    หมายถึง    มีทั้งโทษและคุณ อาจดี อาจเสียก็ได้
ดาวล้อมเดือน    หมายถึง    มีบริวารแวดล้อมมาก
ดินพอกหางหมู     หมายถึง   การงานที่คั่งค้างพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ
ได้ทีขี่แพะไล่    หมายถึง    ซ้ำเติมเมือเห็นผู้อื่นเพลี่ยงพล้ำ
เด็กเลี้ยงแกะ   หมายถึง     คนชอบพูดปดจนไม่มีใครเชื่อถือ
เด็ดดอกฟ้า    หมายถึง    เอาหญิงสูงศักดิ์มาเป็นภรรยา
ได้หน้าได้ตา    หมายถึง    ได้ชื่อเสียงเกียรติยศ

หมวด ต
เต่าใหญ่ไข่กลบ    หมายถึง    ทำผิดแล้วพรางความผิด
ตกนรกทั้งเป็น   หมายถึง     ได้รับความลำบากแสนสาหัส
ตัดหางปล่อยวัด    หมายถึง    เหลือขอจนต้องปล่อยให้ไปตามเรื่อง
ตบมือข้างเดียวไม่ดัง     หมายถึง   อีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมก็ย่อมไม่เกิดผล
ต่อความยาวสาวความยืด    หมายถึง    พูดว่ากันไปกันมา ไม่รู้จักจบ
ตัดช่องน้อยแต่พอตัว   หมายถึง     ตายหนีความลำบากไปคนเดียว
ตักน้ำรดหัวตอ    หมายถึง    พูดเท่าไหร่ก็ไม่รู้เรื่อง
ตาบอดได้แว่น    หมายถึง    ได้ในสิ่งที่ตนไม่มีทางจะใช้
ตีปลาหน้าไซ    หมายถึง    เข้าไปขัดขวางผลประโยชน์ของผู้อื่น
ต่อหน้ามะพลับลับหลังตะโก     หมายถึง   ต่อหน้าทำเป็นดีลับหลังกลับเป็นคนเลว

หมวด ถ
ถึงพริกถึงขิง    หมายถึง    เผ็ดร้อน หรือดุเดือด
ถอยหลังเข้าคลอง    หมายถึง    กลับไปสู่ความไม่ก้าวหน้า
ถอนรากถอนโคน   หมายถึง     ทำลายสิ้นเชื้อสาย
ถอนหงอก    หมายถึง    ไม่นับถือความเป็นผู้ใหญ่ พูดว่าให้เสียผู้ใหญ่
ถึงลูกถึงคน    หมายถึง    รุนแรง
ถอดเขี้ยวถอดเล็บ    หมายถึง    ละพยศ ละความเก่งกาจ
ถีบหัวส่ง   หมายถึง     ไล่ไปให้พ้น ไม่ใยดีอีกต่อไป
ถูกเส้น    หมายถึง    เข้ากันได้ ชอบพอกัน
เถรตรง      หมายถึง  ซื่อหรือตรงเกินไป ไม่มีไหวพริบ
ถ่านไฟเก่า     หมายถึง   คนที่เคยเป็นคู่รักกันมาก่อน แม้เลิกกันไปเมื่อมาพบใหม่ก็อาจรักกันได้

หมวด ท
ทิ้งไผ่ตัวเก็ง    หมายถึง    หวังชนะแน่นอน
ทรัพย์ในดินสินในน้ำ    หมายถึง    ความอุดมสมบูรณ์
แทงใจดำ     หมายถึง   พูดเสียดแทงถูกเป้าหมาย
ทะลุปรุโปร่ง    หมายถึง    อ่านความรู้สึกของอีกฝ่ายได้ตลอดหมด
ทางหนีทีไล่    หมายถึง    คิดการอะไรไว้ ก็คิดถึงทางที่จะเสียไว้ด้วย
เทือกเถาเหล่ากอ    หมายถึง    ลำดับวงศ์ญาติที่เป็นพี่น้องกัน
ทุกข์ทนหม่นไหม้     หมายถึง   ความทุกข์ยากขนาดหนัก
เทศน์ไปตามเนื้อผ้า   หมายถึง     พูดหรือสั่งสอนไปตามตำรา
ทำเป็นทองไม่รู้ร้อน     หมายถึง   เฉยต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ทุบหม้อข้าว    หมายถึง    ตัดอาชีพ ทำลายอาชีพ


หมวด น
น้ำท่วมปาก    หมายถึง    พูดไม่ออกบอกไม่ได้ เพราะมีความจำเป็นบีบบังคับ
น้ำนิ่งไหลลึก    หมายถึง    คนที่เงียบ หงิม ๆ มักจะมีความคิดลึกซึ้ง
น้ำลดตอผุด    หมายถึง    เมื่อหมดอำนาจวาสนาความชั่วที่ทำไว้ก็ปรากฎ
น้ำขึ้นให้รีบตัก     หมายถึง   มีโอกาสดีควรรีบทำ
ในน้ำมีปลาในนามีข้าว    หมายถึง    ความอุดมสมบูรณ์
น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า    หมายถึง    คนเราต้องพึ่งพาอาศัยกัน
น้ำท่วมทุ่มผักบุ้งโหรงเหรง    หมายถึง    พูดมากแต่หาสาระไม่ได้
น้ำซึมบ่อทราย     หมายถึง   สิ่งที่ตักตวงไม่มีวันหมดสิ้น
น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ   หมายถึง     ฝ่ายข้างน้อยย่อมแพ้ฝ่ายข้างมาก
น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก     หมายถึง   รู้จักเก็บความรู้สึกที่ไม่ดีไว้

หมวด บ
บ้านเมืองมีขื่อมีแป    หมายถึง    บ้านเมืองหรือประเทศย่อมมีกฏหมายคุ้มครอง
บนบานศาลกล่าว     หมายถึง   ขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเทวดาช่วยเหลือ
บ้านแตกสาแหรกขาด    หมายถึง    กระจัดกระจายแยกกันไปคนละทิศละทาง
เบี้ยวหัวแตก    หมายถึง    เงินที่ไม่เป็นก้อนเป็นกำ เงินที่ได้มาครั้งละน้อย
เบียดก่อนบวช    หมายถึง    มีภรรยาก่อนบวช
บุญทำกรรมแต่ง    หมายถึง    พรหมลิขิต โชควาสนา
บุญหนักศักดิ์ใหญ่    หมายถึง    คนมีอำนาจวาสนา
บาปบุญคุณโทษ    หมายถึง    ตักเตือนให้รู้ถึงความดีความชั่ว
บ้านเคยอยู่อู่เคยนอน    หมายถึง    สถานที่ตนเคยอยู่มาก่อน
บัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น     หมายถึง   ไม่ให้เดือนร้อนด้วยกันทั้งสองฝ่าย

หมวด ป
ปลูกเรือนคร่อมตอ    หมายถึง    แต่งงานกับชายที่มีเจ้าของแล้ว
ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง    หมายถึง    สร้างสรรเอาตามใจชอบ
ปากคอยาวกว่าปากกา     หมายถึง   คนสามารถแพร่ข่าวได้เร็วกว่ากา
ปากเป็นเอกเลขเป็นโท    หมายถึง    การพูดจากสำคัญกว่าวิชาหนังสือ
ปากหวานก้นเปรี้ยว   หมายถึง     พูดจาอ่อนหวาน แต่ไม่ยอมเสียเปรียบใคร
ปากหอยปากปู   หมายถึง     มักนินทาเล็กนินทาน้อย
ปากร้ายใจดี   หมายถึง     ชอบดุด่า แต่มีเมตตากรุณา
ปากว่าตาขยิบ   หมายถึง     พูดอย่างหนึ่ง แต่ทำตรงกันข้าม
ปลากระดี่ได้น้ำ   หมายถึง     แสดงทำดีใจจนเกินงาม
ปีกกล้าขาแข็ง    หมายถึง    สามารถดำรงชีวิต หรือทำมาหาเลี้ยงตนได้

หมวด ผ
ผงเข้าตา    หมายถึง    มีเรื่องเดือดร้อนเกิดกับตน
ผ่อนสั้นผ่อนยาว    หมายถึง    อะลุ้มอะล่วย ปฏิบัติให้สมควรแก่สิ่งแวดล้อม
ผ้าขี้ริ้วห่อทอง   หมายถึง     คนแต่งเก่า ๆ ขาด ๆ แต่ร่ำรวยมีทรัพย์
ผีซ้ำด้ามพลอย     หมายถึง   เมื่อตกอับหรือเคราะห์ร้าย
ผีถึงป่าช้า    หมายถึง    ต้องทำเพราะจำใจ
ผู้ดีแปดสาแหรก     หมายถึง   คนหยิบโหย่ง คนดัดจริต ทำอะไรไม่เป็น
ผู้ลาภมากดี    หมายถึง    ผู้ดีทั้งหลาย คนมีตระกูล หรือบรรดาศักดิ์สูง
ผิดเป็นครู     หมายถึง   พลาดลงแล้ว จำไว้จะได้ไม่ได้พลาดอีก
ผักชีโรยหน้า    หมายถึง    ทำดีพอพ้นตัว ความดี หรือความสวยที่งาม ลวงตาได้เพียงผิวเผิน
แผ่นดินไม่ไร้เท่าใบพุทรา    หมายถึง    ไม่หมดสิ้นเพียงแค่นี้ ยังมีอีกมากมาย

หมวด พ
พุ่งหอกเข้ารก    หมายถึง    ทำโดยเสี่ยงหาผลประโยชน์อันใดมิได้
เพชรตัดเพชร   หมายถึง     เก่งต่อเก่งเผชิญกัน
เพชรน้ำหนึ่ง   หมายถึง     ของดีเยี่ยม คนดีเยี่ยม
เพชรร้าว    หมายถึง    หญิงสาวที่ไม่บริสุทธิ์แท้
แพแตก     หมายถึง   กระจัดกระจายไปคนละทิศ
แพะรับบาป    หมายถึง    คนผู้รับกรรมแทนการกระทำของผู้อื่น
พลัดที่นาคาที่อยู่    หมายถึง    ย้ายไปจากที่อยู่ ระเหเร่ร่อน
พายเรือทวนน้ำ   หมายถึง     ทำด้วยความยากลำบาก
พูดจนลิงหลับ    หมายถึง    พูดจนผู้ฟังเคลิบเคลิ้ม
พิมเสนแลกเกลือ     หมายถึง   คนมีเกียรติมีเรื่องราวกับคนเลว จะทำให้เสื่อมเกียรติไปไม่สมค่าสมราคา

หมวด ฟ
ฟังความข้างเดียว    หมายถึง    รับรู้เรื่องจากฝ่ายเดียวแล้วด่วนตัดสิน
ฟ้าไม่กระเทือนสันหลัง    หมายถึง    โทษทัณฑ์หรือเคราะห์กรรมที่เกิดจากอำนาจเบื้องบน
ไฟจุกตูด    หมายถึง    มีธุระร้อนมาก
ไฟสมขอน     หมายถึง   อารมณ์ร้อนรุ่มที่คุกรุ่นอยู่ในใจ
ไฟไหม้ฟาง    หมายถึง    อารมณ์ที่เกิดขึ้นอย่างวู่วามสักพักหนึ่งแล้วก็หายไป
ฟื้นฝอยหาตะเข็บ     หมายถึง   คุ้ยเขี่ยเอาเรื่องที่สงบแล้วให้กลับมาเป็นเรื่องอีก
ฟังหูไว้หู    หมายถึง    เชื่อบ้าง ระแวงบ้าง อย่าเชื่อสนิทเชื่อเพียงครึ่งเดียว
ฟ้าสูงแผ่นดินต่ำ     หมายถึง   กาลเทศะ ที่สูงที่ต่ำ ของสูงของต่ำ
ฟังไม่ได้ศัพท์ จับมากระเดียด    หมายถึง    รู้เรื่องไม่ละเอียดถี่ถ้วน ก็ถือเป็นจริงเป็นจริง
ฟาดเคราะห์    หมายถึง    ตัดสินใจยอมเสียสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปเพื่อให้หมดเคราะห์

หมวด ม
มดแดงแฝงพวงมะม่วง    หมายถึง    ไม่ได้ประโยชน์จากสิ่งที่อยู่
มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก    หมายถึง    คนกลับกลอกเอาแน่นอนอะไรไม่ได้
มะนาวไม่มีน้ำ   หมายถึง    พูดไม่น่าฟัง
มะพร้าวตื่นดก ยาจกตื่นมี    หมายถึง    คนจนมักตื่นเต้นเมื่อร่ำรวย
มือใครยาวสาวได้สาวเอา   หมายถึง     ใครดีใครได้
มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ    หมายถึง    ไม่ช่วยแล้วยังกีดขวาง
ไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย   หมายถึง     ไม่มีเค้ามาก่อน
แมวไม่อยู่หนูร่าเริง   หมายถึง     ผู้ใหญ่ไม่อยู่ผู้น้อยเหลิง
ม้าดีดกระโหลก    หมายถึง    กริยาที่หญิงเดินไม่สุภาพ
มือถือสากปากถือศีล    หมายถึง    ไปวัดฟังธรรมถือศีล แต่กระทำตนไม่ดีหรือพูดดีแต่ใจไม่ดี

หมวด ย
ยาจกเห็นใจเศรษฐี    หมายถึง    จะทำอะไรก็ให้ถูกต้องตามเหตุผล
ย้อมแมวขาย    หมายถึง    ปรุงแต่งของเลวแล้วหลอกว่าเป็นของดีขาย
ยื่นหมูยื่นแมว    หมายถึง    แลกเปลี่ยนสิ่งของกันโดยไม่ให้เสียเปรียบ
โยนกลอง    หมายถึง    โยนความผิดให้ผู้อื่น
ยกเมฆ     หมายถึง   พูดเดาสุ่ม
ยกยอปอปั้น   หมายถึง     ยกย่องหรือสรรเสริญ หรือสนับสนุนให้เด่นขึ้น
ยกภูเขาออกจากอก     หมายถึง   หายหนักใจ
ยามรักน้ำต้มผัก ก็ว่าหวาน    หมายถึง    เมื่อรักก็เห็นดีทุกอย่าง
ยกครูต่อหน้า ยอข้าเมื่อลับหลัง     หมายถึง   ยกย่องครูต่อหน้ายกย่องชมเชยผู้น้อยลับหลัง

หมวด ร
รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี    หมายถึง    ให้รู้จักเอาตัวรอด
รู้เช่นเห็นชาติ    หมายถึง    รู้กำพืด รู้นิสัยใจคอ
รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา     หมายถึง   ให้ประพฤติตนดี จะได้ดี
รักสนุกทุกข์ถนัด    หมายถึง    สนุกมาก ก็มักจะทุกข์มาก
ร่มไม้ชายคา    หมายถึง    ที่อยู่อาศัย
รวบหัวรวบหาง    หมายถึง    ฉวยโอกาสเอาหรือทำให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็ว
ร่วมหัวจมท้าย   หมายถึง     ตกลงเป้นสามีภรรยากัน
รอดปากเหยี่ยวปากกา   หมายถึง     แคล้วคลาดและหลุดพ้นจากอันตรายต่าง ๆ
รีดเลือดกับปู    หมายถึง    เคี่ยวเข็ญเอากับผู้ที่ไม่มีทางจะให้ เช่น รีดเงินจากคนจน

หมวด ล
เลือดย่อมข้นกว่าน้ำ    หมายถึง    พี่น้องย่อมดีกว่าคนอื่น
ล้วงคองูเห่า   หมายถึง     กล้าทำชั่วโดยไม่เกรงกลัวผู้ใด
ลืมตัวเหมือนวัวลืมตัว   หมายถึง     ลืมพื้นเพเดิมของตนเอง
ลูกไก่ในกำมือ    หมายถึง    ผู้ที่ไม่มีทางต่อสู้
ลูกขุนพลอยพยัก    หมายถึง    ผู้น้อยคอยตามผู้ใหญ่
ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น     หมายถึง   บุคคลย่อมเป็นตามเผ่าพันธุ์
ล้มลุกคลุกคลาน   หมายถึง     ดิ้นรนกระเสือกกระสน
ล้มหมอนนอนเสื่อ    หมายถึง    ป่วยเจ็บถึงขนาดต้องนอนรักษาตัว
ลาโง่    หมายถึง    คนโง่
ล้มทั้งยืน     หมายถึง   ฉิบหายหรือหมดตัวโดยกะทันหัส

หมวด ศ
ศอกกลับ    หมายถึง    ย้อนว่าสวนคำ กระทำการแก้แค้น
ศิษย์มีครู    หมายถึง    ศิษย์เก่งที่มีครูเก่ง
ศึกในอก     หมายถึง   ความรู้สึกนึกคิดที่สุดจะหักห้ามได้ การเอาชนะใจตนเอง
ศึกหน้านาง    หมายถึง    การวิวาทหรือต่อสู้กันต่อหน้าหญิงที่ตนหมายปอง
เศรษฐียังขาดไฟ    หมายถึง    คนเรามีวันผิดพลาด
ศาลา นารี คงคา    หมายถึง    สิ่งที่ถือว่าเป็นของกลาง
ศรศิลป์ไม่กินกัน   หมายถึง     ไม่ถูกกัน ไม่ลงรอยกัน ไม่ถูกชะตากัน ทำอะไรกันไม่ได้

หมวด ส
สวยแต่รูปจูบไม่หอม    หมายถึง    รูปร่างหน้าตาดีแต่ขาดคุณสมบัติสตรี
สอดรู้สอดเห็น    หมายถึง    แส่รู้ในเรื่องของคนอื่น
สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ   หมายถึง     สอนในสิ่งที่เขารู้ดีอยู่แล้ว
สาวไส้ให้กากิน   หมายถึง     เอาความลับของฝ่ายตนไปเปิดเผยให้คนอื่นรู้
สิบเบี้ยใกล้มือ    หมายถึง    ของหรือประโยชน์ที่อยู่ใกล้ก็เอาไว้ก่อน
สิบแปดมงกุฎ    หมายถึง    ผู้มีเล่ห์เหลี่ยมมาก
สีซอให้ควายฟัง    หมายถึง    สอนคนโง่ไม่มีประโยชน์
สุ่มสี่สุ่มห้า    หมายถึง    ไม่ดูหน้าดูหลัง
เสือซ่อนเล็บ    หมายถึง    คนคมในฝัก เก่งแต่เก็บไว้ไม่โอ้อวด
เสือกระดาษ   หมายถึง     อำนาจที่มีเป็นลายลักษณะอักษรเท่านั้น

หมวด ห
หาเหาใส่หัว    หมายถึง    หาความเดือนร้อนใส่ตัวโดยใช่เหตุ
หญ้าปากคอก     หมายถึง   คุ้นเสียจนมองข้ามไป
หนวดเต่า เขากระต่าย   หมายถึง     สิ่งที่หาได้ยากยิ่ง
หนอนหนังสือ     หมายถึง   คนที่ชอบอ่านหนังสือเป็นประจำ
หน้าซื่อใจคด     หมายถึง   มีหน้าตาซื่อตรง แต่ในในคิดร้าย
หน้าเนื้อใจเสือ     หมายถึง   หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใจแต่ในใจดุร้าย
เห็นกงจักรเป็นดอกบัว     หมายถึง   หลงผิดคิดว่าความชั่วเป็นความดี
หมองูตายเพราะงู   หมายถึง     ทำหน้าที่อะไรมักได้รับภัยจากหน้าที่นั้น
เห็นช้างขี้ ชี้ตามช้าง   หมายถึง     ทำอย่างผู้อื่นจนเกินกำลังตน
เห็นช้างเท่าหมู   หมายถึง     โกรธจัดจนขาดสติ

หมวด อ
อ้อยเข้าปากช้าง    หมายถึง    สิ่งตกอยู่ในมือใครแล้วยากจะได้คืน
อกไหม้ไส้ขม     หมายถึง   ความทุกข์อย่างแสนสาหัส
อดเปรี้ยวไว้กินหวาน    หมายถึง    ค่อยทำค่อยไปแล้วจะได้ผลดี
อกสั่นขวัญแขวน   หมายถึง     ตกใจขนาดหนัก
อดอยากปากแห้ง   หมายถึง     ไม่มีอาหารจะกิน
เอาหูไปนาเอาตาไปไร่    หมายถึง    ทำไม่รู้ไม่เห็น
อย่าเทน้ำพริกไปกินแกง     หมายถึง   อย่าคาดคะเนล่วงหน้า โดยยังไม่เห็นผล
เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน    หมายถึง    แสดงความรู้หรืออวดรู้กับผู้ที่รู้เรื่องดีกว่า
เอากุ้งฝอยไปตกปลากระพง    หมายถึง    ลงทุนน้อย หวังกำไรมาก

    Link   www.trueplookpanya.com

“คำพังเพย” ทองสืบ ศุภะมาร์ค

ภาษิต หรือ สุภาษิตมีอยู่ทั่วไปในทุกชาติทุกภาษา และมักรู้กันแพร่หลาย มักเขียนเป็นร้อยกรอง เล่นสัมผัสสระ สัมผัสพยัญชนะ เพิ่มความไพเราะและกำหนดจดจำง่ายยิ่งขึ้น เช่น

  • กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้
    (ทำอะไรไม่ทันท่วงที)
  • กินบนเรือนแล้วขี้รดหลังคม
    (เนรคุณ)
  • กินปูนร้อนท้อง
    (ทำผิดแล้วมักออกตัว แสดงพิรุธ)
  • เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน
    (ทำงานได้เงินเล็กๆ น้อยๆ ก็เอา)
  • ขายผ้า เอาหน้ารอด
    (ยอมเสียทุกอย่างเพื่อรักษาชื่อเสียง)
  • ขิงก็รา ข่าก็แรง
    (ต่างคนต่างแรง ไม่ยอมกัน เรื่องเล็กก็เลยกลายเป็นเรื่องใหญ่ไป เพราะทิฐิมานะ)
  • ขี่ช้างจับตั๊กแตน
    (ทำเรื่องเล็กให้กลายเป็นเรื่องใหญ่ ได้ผลไม่คุ้มกับที่ต้องเสียไป)
  • เข้าตามตรอก ออกตามประตู
    (ทำอะไรให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณี)
  • เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า ได้หน้าอย่าลืมหลัง
    (อย่าประมาทต้องเตรียมให้พร้อม และให้มีสติกำหนดจดจำให้ดี)
  • เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่งตาตาม
    (ประพฤติให้ถูกต้องตามกาลเทศะ เมื่อไปอยู่ในพวกเขาแล้ว ก็ต้องประพฤติคล้อยตามเขา)
  • เขียนเสือให้วัวกลัว
    (ขู่ให้กลัว)
  • คนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้
    (คนดีไปที่ไหนก็มีคนอยากคบหาสมาคมด้วย ไม่ลำบาก)
  • คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย สามคนกลับมาได้
    (ความชัดแล้ว)
  • คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ
    (คนที่รักเรามีน้อยคล้ายผืนหนัง คนชังมีมาก อย่างกับเสื่อลำแพน)
  • คบคนให้ดูหน้า ซื้อผาให้ดูเนื้อ
    (ความชัดแล้ว)
  • คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล
    (ความชัดแล้ว)
  • คบคนดีมีศรีแก่ตัว คบคนชั่วอัปราชัย
    (อัปราชัย ในที่นี้มีความหายเท่ากับ ปราชัย คือจะพ่ายแพ้ หมายถึงไม่เป็นมงคลแก่ตัว)
  • ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด
    (แม้จะมีความรู้สูงแค่ไหนก็ตาม ถ้าความประพฤติไม่ดีแล้วก็เอาตัวไม่รอด เพราะไม่มีใครคบหาสมาคมด้วย หรือมีความรู้ แต่ไม่ใช้ความรู้ก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร)
  • ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก
    (ปัญหาเรื่องนี้ยังแก้ไขไม่ตกเลย ก็มีปัญหาใหม่แทรกเข้ามาอีกแล้ว)
  • คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก
    (ที่อยู่อาศัย แม้จะคับแคบเพียงใด ถ้ารู้จักทำให้ดี ก็น่าอยู่ แต่ถ้าหากมีความคับอกคับใจแล้ว แม้ที่จะกว้างขวางใหญ่โต ก็มิได้ทำให้สบายอกสบายใจเลย มีแต่จะรู้สึกอึดอัดใจแต่ถ่ายเดียว)
  • คืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล
    (อย่าประมาททะเล แค่คืบแค่ศอกก็ทะเล ตกไปก็มีหวังจมน้ำตายทั้งนั้น)
  • ฆ่าความก็ต้องไม่เสียดายพริก
    (ถ้าคิดจะทำงานใหญ่ทั้งที ก็ต้องไม่กลัวหมดเปลือง)
  • ฆ่าช้างจะเอางา คนเจรจาจะเอาถ้อยคำ
    (ที่เขาฆ่าช้างก็เพราะเขาหวังจะเอางาซึ่งมีราคาแพง เมื่อคนเราเจรจากัน ถ้อยคำหรือคำพูดถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ควรจะเป็นคำพูดที่มีความจริงใจ เชื่อถือได้)
  • วัวเป็นแก่หญ้า ขี้ข้าเห็นแก่นอน
    (หมายถึงคนที่เห็นแก่ได้ เห็นแก่กิน และเกียจคร้าน)
  • งูเห็นนมไก่ ไก่เห็นตีนงู
    (ต่างคนต่างรู้ทันกัน รู้เล่ห์เหลี่ยมและกำพืดของกันและกันว่ามีเบื้องหลังอย่างไร)
  • จำศีลเอาหน้า ภาวนาโกหก
    (แสร้งทำเป็นว่าถือศีลเคร่งครัด ชอบเจริญภาวนาเข้ากรรมฐาน ที่ลวงให้คนอื่นเข้าใจว่าตนเป็นมีศีลมีธรรม เขาจะได้เชื่อถือไว้วางใจ
  • ชั่วเจ็ดที ดีเจ็ดหน
    (ชีวิตคนเราเอาแน่นอนอะไรไม่ได้ เดี๋ยวรุ่งเรือง เดี๋ยวตกอับ ดังนั้นเมื่อถึงคราวตกอับ ก็อย่าเพิ่งท้อถอย หรือหมดอาลัยในชีวิต และเมื่อถึงคราวรุ่งเรือง มีอำนาจวาสนา ก็อย่าลืมตัว อย่าประมาท)
  • ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์
    (ใครจะเป็นอะไรก็ช่าง ไม่ควรถือเอาเป็นธุระ)
  • ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ
    (ลูกผู้ชายที่ชื่อว่าตนมีความเก่งกล้าสามารถ จะต้องสำแดงวิชาความรู้และความสามารถให้ลือชาปรากฏแก่คนทั่วไป ดุจเสือ (ลายพาดกลอน) ก็ต้องมีลายฉะนั้น)
  • ช้าๆ ได้พร้าสองเล่มงาม ด่วนได้สามผลามมักพลิกแพลง
    (จะทำอะไรก็ทำอย่างมีสติ รอบคอบ แม้จะช้าไปบ้างก็ได้ผลดี แต่ถ้าทำอย่างรีบร้อน ไม่พินิจพิเคราะห์ให้ดีก่อน อาจผิดพลาดเสียหายได้ง่าย)
  • ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวปิด
    (ช้างเป็นสัตว์ใหญ่ ใบบัวมีขนาดเล็ก ถ้าเอาใบบัวใบเดียวไปปิดช้าง ย่อมปิดไม่มิด คนที่ทำความชั่วไว้มากมาย ถึงจะปิดอย่างไรๆ ก็ปิดไม่หมด คนย่อมรู้เข้าจนได้)
  • ช้างสาร งูเห่า ข้าเก่า เมียรัก อย่าได้ไว้วางใจ
    (ช้างสารและงูเห่า เป็นสัตว์เดรัจฉานไว้ใจไม่ได้ ข้าเก่าและเมียรัก เป็นบุคคลที่ใกล้ชิด ย่อมรู้เรื่องราวและความลับของเราหมด บุคคลประเภทนี้ ถ้ากลับกลายเป็นศัตรูแล้วจะเป็นศัตรูที่ร้ายที่สุด ดังนั้นจึงไม่ควรไว้วางใจจนเกินไป)
  • ใช้แมวไปขอปลาย่าง
    (แมวก็กินปลาย่างหมด เพราะตามปรกติแมวก็ชอบกินปลา)
  • ดูวัวให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ถ้าจะดูให้แน่ต้องดูถึงย่าถึงยาย
    (วัวที่มีลักษณะดีนั้นให้ดูที่หาง ถ้าปลายหางเป็นพู่เหมือนใบโพธิ์ ก็นับว่าเป็นวัวที่มีลักษณะดีมาก การที่จะเลือกผู้หญิงมาเป็นคู่ครอง ไม่ใช่ดูเพียงตัวผู้หญิงเท่านั้น ต้องดูไปจนถึงแม่ด้วยว่าเป็นคนดีหรือไม่ เพราะลูกกับแม่ก็มักจะมีลักษณะนิสัยคล้ายคลึงกัน และถ้าจะดูให้แน่จริงๆ ต้องสืบประวัติไปจนถึงย่ายายของหญิงนั้นด้วย)
  • ดูช้างให้ดูหน้าหนาว ดูสาวให้ดูหน้าร้อน
    (หน้าหนาวช้างจะตกมัน ตอนนี้แหละเราจะเห็นลักษณะท่าทางของช้างว่ามีความห้าวหาญดุดันอย่างไร หน้าร้อนอากาศอ้าว ผู้หญิงก็ใช้ผ้าน้อยชิ้น หรือผ้าบางๆ ทำให้มองเห็นรูปร่างทรวดทรงและผิวพรรณของผู้หญิงว่าสวยงามแค่ไหนเพียงใด)
  • ตบมือข้างเดียวไม่ดัง
    (ทำอะไรฝ่ายเดียวไม่เกิดผล)
  • ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก
    (ต่อหน้าทำอย่างหนึ่ง ลับหลังทำอีกอย่างหนึ่ง แบบหน้าไหว้ หลังหลอก)
  • ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา
    (ให้รู้จักเจียมเนื้อเจียมตัวไว้บ้าง)
  • ตักบาตรไม่ต้องถามพระ
    (จะให้อะไรแก่ใคร เมื่อทราบว่าเขาเต็มใจรับอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องถามว่าจะเอาไหม)
  • ถ้าไม่ไฟ ที่ไหนจะมีควัน
    (เมื่อมีผลออกมา มันต้องมีเหตุแน่ๆ )
  • ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น
    (ทำอะไรดูเหมือนจะละเอียดถี่ถ้วนดี แต่ความจริงแล้วไม่รอบคอบ หรือบางทีก็ดูเหมือนจะใช้สอยอย่างกระเหม็ดกระแหม่ในบางเรื่องแต่อีกเรื่อง หนึ่งกับสุรุ่ยสุร่าย)
  • นอนสูงให้นอนคว่ำ นอนต่ำให้นอนหงาย
    (เมื่อนอนในที่สูง ถ้านอนคว่ำ อะไรผ่านไปผ่านมาข้างล่างก็มองเห็นหมด และเมื่อนอนในที่ต่ำ ถ้านอนหงาย อะไรผ่านไปผ่านมาข้างบนก็มองเห็นหมด ถ้านอนต่ำแล้วนอนคว่ำหน้าจะจดพื้น มองไม่เห็นอะไร)
  • น้ำขึ้นให้รีบตัก
    (เมื่อเวลามีบุญมีวาสนา อย่างจะทำความดีอะไรก็รับทำๆ เสีย)
  • น้ำเชี่ยว อย่าขวางเรือ
    (เมื่อมีเหตุการณ์รุนแรงอะไรเกิดขึ้น ก็อย่าไปขัดขวาง จะได้รับอันตราย เพราะตอนนี้ตนอยู่ในระยะหน้าสิ่งหน้าขวาน คนเรามักไม่มีเหตุผลดุจนน้ำเชี่ยว ถ้าเอาเรือไปขวาง เรือก็จะล่ม)
  • น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า
    (ทุกคนต้องพึ่งพาอาศัยกัน ต้องเห็นอกเห็นใจกัน จึงควรผูกไมตรีกันไว้)
  • น้ำลง ตอผุด
    (ความชั่วเมื่อทำไว้ในเวลาที่ตนมีอำนาจนั้น อาจไม่มีใครทราบ แต่เมื่อหมดบุญ หมดอำนาจ บรรดาความชั่วที่ปิดบังกันไว้นั้น ก็จะปรากฏออกมา)
  • น้ำลึกหยั่งได้ น้ำใจหยั่งยาก
    (น้ำลึกเป็นเรื่องรูปธรรม เราหาวัตถุมาวัดได้ แต่น้ำใจเป็นเรื่องนามธรรม ไม่มีเครื่องวัด)
  • นายว่า ขี้ข้าพลอย
    (ลักษณะของคนเลว ไร้ความรู้ ถ้าเจ้านายว่าอย่างไร ก็มักจะพลอยประสมโรงซ้ำเติมด้วย)
  • เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่รองนั่ง เอากระดูกมาแขวนคอ
    (ทั้งๆ ที่ตนไม่มีส่วนได้เป็นผลประโยชน์กับเขาเลย แต่ก็พลอยเข้าไปพัวพันในเรื่องร้าย ทำให้ต้องพลอยรับบาปรับเคราะห์เสียหายไปกับเขาด้วย)
  • บุญมา ปัญญาช่วย ที่ป่วยก็หาย ที่หน่ายก็รัก
    (ในเวลาที่มีบุญวาสนา สติปัญญาก็ปลอดโปร่ง กำลังใจดี แม้จะเจ็บไข้ได้ป่วย ก็จะหายวันหายคืน เพราะเขาหวังว่าจะได้รับประโยชน์จากผู้มีวาสนานั้น และจะมีภาษิตต่อท้ายอีกว่า “บุญไม่มา ปัญญาไม่ช่วย ที่ป่วยก็หนัก ที่รักก็หน่าย” ซึ่งมีนัยตรงข้ามกัน)
  • ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ
    (ปล่อยศัตรูสำคัญหรือโจรผู้ร้าย ที่ตกอยู่ในอำนาจให้พ้นไปนั้น จะทำให้เขากลับมีกำลังและอาจกลับเข้ามาก่อความเดือดร้อนได้อีก)
  • ปลาข้องเดียวกัน ตัวหนึ่งเน่า ก็พาตัวอื่นพลอยเหม็นไปด้วย
    (คนที่อยู่ร่วมกัน ถ้าคนหนึ่งไปทำชั่ว ทำไม่ดีไว้ ก็จะพลอยทำให้คนอื่นเสียหายไปด้วย)
  • ปลาหมอตายเพราะปาก
    (คนที่ชอบพูดอะไรพล่อยๆ มักจะได้รับอันตรายเพราะปากที่พูดพล่อยๆ นั้น)
  • ปากคนยาวกว่าปากกา
    (ตามปรกติปากของอีกายาวกว่าปากคน แต่ปากคนนั้นพูดเล่าลือต่อปากกันไปได้ไกล ผิดกับกาแม้ปากจะยาว แต่ก็ต่อปากต่อคำอย่างคนไม่ได้)
  • ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี ชั่วดีเป็นตรา
    (สมัยก่อนการศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่านยังไม่แพร่หลาย คนที่รู้หนังสือมีน้อย บางคนก็ได้ดีเพราะปาก การคิดเลขหรือการคำนวณนั้นมีความสำคัญน้อยลงมาอีก แม้เดี๋ยวนี้คนที่มีความรู้ดีแต่พูดไม่เก่ง ก็เอาดีได้ยาก ส่วนความชั่วความดีนี้ ทำลงไปแล้วย่อมเป็นเสมือนตราที่ประทับลงไปให้รู้ว่าคนนั้นเป็นคนดี หรือคนชั่ว)
  • ปลูกเรือนต้องตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ต้องตามใจผู้นอน
    (จะทำอะไรก็ต้องตามใจผู้ที่จะได้รับผล เหมือนปลูกเรือนต้องปลูกตามที่ผู้อยู่ต้องการ ไม่ใช่ตามที่ช่างต้องการ เพราะช่างหรือสถาปนิกไม่ใช้ผู้อาศัย ผูกอู่ก็คือผูกเปล ก็ต้องให้ถูกใจผู้นอน)
  • พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
    (ถ้าพูดไป ไม่มีประโยชน์ละก็นิ่งเสียดีกว่า สองไพเบี้ย =
    ( สตางค์ 1 ตำลึง = 4 บาท)
  • มีเงินเขานับว่าเป็นน้อง มีทองเขานับว่าเป็นพี่
    (เมื่อมั่งมีเงินมีทองแล้ว ใครๆ ก็ประจบอยากเข้ามาเป็นญาติพี่น้องด้วย)
  • มีเงินมีทองเจรจาได้ มีไม้มีไร่ปลูกเรือนงาม
    (ถ้ามีเงินมีทองแล้วจะพูดอะไรก็มักจะสำเร็จ ถ้ามีไม้มีที่แล้ว ก็ย่อมปลูกเรือนได้สวยงาม)
  • ไม่มีมูลฝอยหมาไม่ขี้
    (ถ้าไม่มีอะไรเป็นเค้ามูลอยู่ ก็ย่อมไม่มีเรื่องเกิดขึ้น)
  • ไม่เห็นน้ำ อย่าเพิ่งตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอก อย่าเพิ่งโก่งหน้าไม้ (อย่าด่วนทำอะไรล่วงหน้า โดยที่ยังไม่ทราบว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นในภายหน้า จะเหนื่อยเปล่า)
  • ไม้ล้มข้ามได้ คนล้มอย่าเพิ่งข้าม
    (ไม้ล้มข้ามไปไม่มีอันตรายอะไร แต่คนที่เคยมีอำนาจวาสนา แล้วหมดอำนาจ อย่าไปซ้ำเติมเขา เพราะเขาอาจกลับมามีอำนาจอีกได้)
  • ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก
    (จะอบรมสั่งสอนอะไรก็ทำเสียตั้งแต่เด็ก เพราะอบรมสั่งสอนง่าย จะสอนให้เป็นอะไรก็ได้ ส่วนคนแก่นั้นสอนยาก เหมือนไม้แก่ถ้าดัดก็หัก ผิดกับไม้อ่อนซึ่งดัดง่ายไม่หัก)
  • ไม้ลำเดียวยังต่างปล้อง พี่กับน้องยังต่างใจ
    (คือคนเรา นานาจิตตัง มีความเห็นไม่เหมือนกัน เหมือนไม้ไผ่ลำเดียวกัน ก็มีหลายปล้อง แต่ละปล่องก็ยาวไม่เท่ากัน พี่น้องแม้ท้องเดียวกัน แต่ความคิดเห็นก็ไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกัน)
  • รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี
    (วัวถ้าไม่ผูกไว้ ก็อาจหายได้ ถ้าลูกดื้อ พ่อแม่ก็ต้องดุต้องตีบ้าง แต่การที่พ่อแม่ตีไม่ใช่ตีด้วยความเกลียดชัง เพราะพ่อแม่ที่ตีนั้นก็ไม่อยากตี บางทีตีแล้วแอบไปร้องไห้ สงสารลูกก็มี แต่ถ้าไม่ตีเสียบ้าง ต่อไปถ้าลูกกลายเป็นคนชั่วช้าเลวทราม พ่อแม่จะต้องเสียน้ำตามากกว่านั้น)
  • รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ
    (ถ้ารักจะมีชีวิตยืดยาวอย่างสงบสุข ก็ต้องตัดความเห็นแก่ตัว การอาฆาตจองเวรลง แต่ถ้าอยากจะมีชีวิตสั้นก็ต้องผูกอาฆาตจองเวรกันต่อไป อย่างนี้อาจตายเร็ว)
  • รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม
    (การศึกษาหาความรู้ไว้ ยิ่งมากยิ่งดี เพราะการมีความรู้มาก ไม่เหมือนการแบกข้าวแบกของ ซึ่งจะรู้สึกว่าหนักบ่า มีความรู้มิได้หนักบ่าหนักแรงอะไร ความรู้ที่เวลานี้เราคิดว่าไม่มีประโยชน์ วันหน้าอาจเห็นคุณค่าของมันก็ได้)
  • รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง
    (เมื่อรู้ว่าจะมีภัยอันตรายอะไรก็รู้จักหลบหลีก หรือเมื่อรู้ว่าการกระทำนั้นเป็นความชั่ว ก็ควรหลักหนีให้พ้น)
  • เรือล่มในหนอง ทองจะไปไหน
    (เมื่อจะต้องสูญเสียอะไรไปอย่างไม่มีทางที่จะสูญเปล่า ก็ไม่ต้องวิตกทุกข์ร้อนอะไร)
  • เรือล่มเมื่อจอด ตาบอดเมื่อแก่
    (ทำอะไรต่ออะไรดีมาตลอด แต่พอเสร็จกลับไม่ได้ผลอะไร หรือมาล้มเหลงเมื่อปลายมือ)
  • ลงเรือแป๊ะ ต้องตามใจแป๊ะ
    (เมื่ออะไรๆ ต้องอาศัยเขา ก็ต้องตามใจเขา ถ้าไปขัดใจเขา เขาอาจไม่ช่วยเราหรือไล่เราออกก็ได้)
  • ลมไม่พัด ใบไม้ไม่ไหว
    (ไม่มีอะไรเป็นเค้ามูลมาก่อนแล้ว ก็คงไม่มีเรื่องมีราวเกิดขึ้นเป็นแน่)
  • เล่นกับหมา หมาเลียปาก เล่นกับสาก สากต่อยหัว
    (ถ้าลดตัวไปเล่นหัวกับคนชั้นต่ำกว่า เขาก็อาจตีเสมอทำลวนลามเอา สากในที่นี้หมายถึงสากตำข้าวที่เขาพิงไว้ ถ้าใครซุกซนไปจับต้องเข้า สากอาจเลื่อนล้มทับถูกหัวถูกหูก็ได้)
  • เลี้ยงช้าง กินขี้ช้าง
    (หาเศษหาเลยหรือมีผลประโยชน์พลอยได้จากหน้าที่ที่ตนทำเปรียบเหมือนคน เลี้ยงช้าง ซึ่งช้างก็มีค่าหญ้าอันเป็นส่วนของช้าง คนเลี้ยงช้างอาจเบียดบังเอาส่วนหนึ่งของค่าหญ้าเป็นผลประโยชน์ของตัว)
  • เลือกนักมักได้แร่
    (เลือกไปเลือกมา ในที่สุดมักจะไปได้ที่ไม่ดี มักใช้ในกรณีเลือกคู่ เลือกไปเลือกมาในที่สุดไปได้คนที่ไม่ดีมาเป็นคู่ครอง แร่ในที่นี้หมายถึงขี้แร่ หรือแร่เลวๆ ที่ไม่มีค่าอะไรกัน)
  • โลภมาก ลาภหาย
    (โลภมากเกินไป ในที่สุดจะไม่ได้อะไรเลย ท่าสอนให้รู้จักมีความพอประมาณไว้บ้าง)
  • วัวใครก็เข้าคอกคนนั้น
    (ส่วนของใครก็เป็นของคนนั้น ไม่ก้าวก่ายหรือก้ำเกินในผลประโยชน์ของกันและกัน)
  • วัวสันหลังขาด เห็นกาบินผาดก็ตกใจ
    (คนที่มีความผิดติดตัว มักจะมีพิรุธ มีอาการหวาดระแวงอยู่เสมอ กลัวคนอื่นจะรู้ เหมือนวัวสันหลังหวะเป็นแผล พอเห็นกาบินมาก็หวาดกลัว เกรงว่ากาจะโฉบลงมาจิกที่แผลนั้น บางทีก็พูดว่า “วัวสันหลังหวะ”)
  • วัวหายแล้วจึงล้อมคอก
    (เมื่อเกิดเสียหายขึ้นมาแล้วจึงหาทางป้องกันในภายหลัง ซึ่งนับว่าไม่ทันการณ์ ควรจะล้อมคอกเสียก่อนที่วัวจะหาย)
  • ว่าแต่เขา อิเหนาเป็นเอง
    (พูดว่าคนอื่นอย่างไร ตนเองก็กลับเป็นอย่างนั้นเสียเองเหมือนอิเหนาที่ปรารภว่าไม่รักไม่ต้องการบุษบา แต่ตัวเองกลับลักพาบุษบาไป)
  • สอนเด็ก สอนง่าย สอนผู้ใหญ่ สอนยาก
    (ความหมายอย่างเดียวกับ “ไม้อ่อนดัดง่าย ไม่แก่ดัดยาก)
  • สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
    (คนเราแม้จะมีความรู้สูงอย่างนักปราชญ์ ก็อาจผิดพลาดได้เหมือนกัน ทุกคนจึงไม่ควรประมาท แม้สัตว์สี่เท้าเช่น วัวควายซึ่งมีสี่เท้าก็ยังอาจก้าวพลาดถึงล้มลงได้ ภาษิตนี้บางทีก็มีพูดต่อไปอีกว่า “สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง สองตีนโด่เด่ คงจะเซลงบ้าง”)
  • เสน่ห์ปลายจวัก ผัวรักจนตาย
    (ผู้หญิงที่จะผูกมัดจิตใจสามีได้ ไม่ใช่เพียงเพราะความสวยอย่างเดียว เพราะความสวยงามเป็นของไม่จีรังยั่งยืนอะไร แต่ความดีโดยเฉพาะฝีมือในการปรุงอาหาร ถ้าหากสามารถทำให้ถูกปากสามีได้ ย่อมผูกใจสามีให้รักไปจนตาย)
  • เสียทองเท่าหัว ไม่ยอมเสียผัวให้ใคร
    (เดิมเราถือกันว่า ผู้หญิงที่เป็นแม่ร้างเพราะสามีหนีไปนั้น แสดงว่าผู้หญิงผู้นั้นต้องมีอะไรบกพร่องเลวร้าย สังคมมักคิดว่าเป็นผู้หญิงไม่ดี เพราะฉะนั้นผู้หญิงจึงไม่ยอมเสียสามีให้แก่หญิงใด เพราะเท่ากับเสียศักดิ์ศรีของตน แต่ในปัจจุบันอาจได้ยินบางคนพูดว่า “ถ้าได้ทองเท่าหัว ใครอยากได้ผัวก็เอกไป” แสดงว่าคนเดี๋ยวนี้เห็นแก่เงินมากขึ้น)
  • เสียน้อย เสียยาก เสียมาก เสียง่าย
    (เวลาจะต้องเสียงเพียงเล็กน้อย ไม่อยากจะเสีย แต่พอถึงคราวต้องเสียมากๆ รับควักเงินให้ทันที อย่างข้าวของที่ชำรุดไปเล็กน้อย แทนที่จะรีบซ่อมแซมเสีย กลับปล่อยให้เสียมาก แล้วจึงซ่อมแซม ซึ่งต้องหมดเงินมากกว่าหลายเท่า)
  • หญิงสามผัว ชายสามโบสถ์ อย่าได้คบ
    (แสดงว่ามีจิตใจรวนเร คบเป็นเพื่อนตายไม่ได้ เพราะเมื่อถึงคราวคับขัน อาจปลีกตัวหนีเอาตัวรอดไปตามลำพังได้)
  • หมาขี้ไม่มีใครยกหาง
    (หมายถึงคนที่ชอบยกย่องตัวเอง)
  • หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว
    (การทำอะไรเพื่อประชดประชัน ไม่ได้ประโยชน์อะไร ผลเสียจะตกแก่ตน ส่วนผลดีจะไปได้แก่คนที่เราประชดให้)
  • ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว
     (ทำทุกข์ให้แก่ผู้ใด เคราะห์กรรมที่ทำกับเขา อาจตกตามมาถึงตัวเองบ้าง อย่างบางคนชอบล่าสัตว์ บางทีไปยิงลูกของตน โดยเข้าใจว่าเป็นสัตว์ป่าก็มี)
  • อดเปรี้ยวไว้กินหวาน
    (ให้มีความอดทน อดใจรอผลข้างหน้าที่จะดีกว่า คือละทิ้งสิ่งที่ไม่ดี เพราะอดใจรอเอาสิ่งที่ดีกว่า)
  • อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นความให้ลูกท่านเล่น
     (เมื่ออยู่บ้านใคร อย่าอยู่เปล่า ควรทำการทำงานช่วยเหลือเขาเท่าที่จะทำได้ แม้เพียงเอาดินเหนียวมาปั้นวัวปั้นควายให้ลูกเจ้าของบ้านเล่นก็ยังดี เขาจะได้เมตตาสงสาร)
  • อย่าแกว่งเท้าหาเสี้ยน
    (อย่าหาเรื่องใส่ตัว การพูดหรือทำอะไรก้าวก่ายไปถึงผู้อื่นโดยมิบังควร ย่อมทำให้ตนได้รับความเดือดร้อนโดยไม่จำเป็น)
  • อย่าข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า
    (อย่าบังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามใจตน)
  • อย่าคบคนจร นอนหมอนหมิ่น
    (อย่าคบคนจร ที่เราไม่รู้จักหัวนอนปลายเท้าหรือไม่รู้จักประวัติเสียก่อน)
  • อย่าชักน้ำเข้าลึก อย่าชักศึกเข้าบ้าน
    (บางทีก็พูดว่า “อย่าชักเรือเข้าลึก” หมายความว่า อย่าทำอะไรที่เป็นเหตุให้อันตรายมาถึงตัว)
  • อย่าชิงสุกก่อนห่าม
    (ตามปรกติผลไม้ เช่นมะม่วงก่อนจะสุก จะต้องห่ามเสียก่อน การกระทำอะไรต้องให้เป็นไปตามจังหวะขั้นตอนของมัน ถ้าทำผิดลำดับอาจเสียหาย เหมือนผลไม้ที่ยังไม่แก่ เอามาบ่มแม้จะสุก แต่ก็จะเข้าทำนองหัวหวานก้นเปรี้ยว หรือยังเรียนหนังสือไม่จบ ยังหาเงินไม่ได้ ริมีลูกมีเมียเสียก่อน ตัวเองก็จะเดือดร้อนลูกเมียก็จะพลอยเดือดร้อนไปด้วย)
  • อย่าชี้โพรงให้กระรอก
    (คืออย่าไปสอนผู้รู้ เพราะเขารู้อยู่แล้ว เหมือนกับกระรอกมันย่อมรู้จักโพรงของมัน ไม่ต้องไปชี้บอกกับมันดอก)
  • อย่าตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
    (อย่าทำอะไรที่ต้องเสียทรัพย์โดยไม่ได้ประโยชน์คุ้มกับเงินทองที่ต้อง เสียไป เหมือนตำน้ำพริกเพียงครกหนึ่งแล้วเอาไปละลายในแม่น้ำ ซึ่งมีน้ำมาก จะทำให้น้ำในแม่น้ำกลายเป็นน้ำพริกอย่างในหม้อแกงไม่ได้)
  • อย่าติเรือทั้งโกลน
    (เรือสมัยโบราณซึ่งเอาซุงทั้งต้นมาขุด เช่น เรือมาดที่เขาทำเป็นรูปร่างแล้วแต่ยังไม่แล้วเสร็จ อย่างเพิ่งไปด่วนติ)
  • อย่าทำตัวเป็นกิ้งก่าได้ทอง
    (อย่าเย่อหยิ่งจองหองเพราะเพียงได้ดีหรือมีทรัพย์ขึ้นมาเพียงเล็กน้อย)
  • อย่าทำเป็นหมาเห่าใบตองแห้ง
    (อย่าทำพูดอวดเก่ง หรือเก่งแต่ปาก)
  • อย่าฝากเนื้อไว้กับเสือ
    (อย่าฝากสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้กับผู้ที่ชอบสิ่งนั้นเพราะตนจะต้องสูญเสียสิ่งนั้นไป)
  • อย่าฟื้นฝอยหาตะเข็บ
    (อย่ารื้อเอาเรื่องเก่าๆ ที่ล่วงเลยไปแล้วขึ้นมาพูดให้สะเทือนใจกัน ฝอย ในที่นี้หมายถึง มูลฝอย กุมฝอย ตะเข็บ คล้ายตะขาบ แต่ตัวเล็กกว่ามาก ชอบอยู่ตามกุมฝอย)
  • อย่าละเลงขนมเบื้องด้วยปาก
    (อย่าเป็นคนดีแต่พูด คือพูดได้ แต่ทำไม่ได้)
  • อย่าเลี้ยงลูกเสือลูกจระเข้
    (อย่าเอาลูกโจรหรือลูกคนชั่วคนเลวมาเลี้ยง เพราะอาจสร้างความลำบากเดือดร้อนให้แก่ผู้เลี้ยงก็ได้)
  • อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง
    (ความชัดอยู่ในตัวแล้ว)
  • อย่าสอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ
    (ความอย่างเดียวกับ “อย่าชี้โพรงให้กระรอก”)
  • อย่าสอนหนังสือสังฆราช
    (ความอย่างเดียวกับ “อย่าชี้โพรงให้กระรอก”)
  • อย่าหักด้ามพร้าด้วยเขา
    (อย่าใช้อำนาจบังคับอย่างหักโหมรุนแรง เพื่อให้ผู้อื่นทำตามความประสงค์ของตน เพราะนอกจากจะไม่สำเร็จแล้ว ตัวเองก็อาจเดือดร้อน)
  • อย่าเห็นขี้ดีกว่าไส้
    (อย่าเห็นผู้อื่นดีกว่าญาติพี่น้องลูกหลานของตน)
  • อย่าเอาจมูกคนอื่นหายใจ
    (ต้องรู้จักช่วยตัวเอง อย่าคิดแต่จะพึงพาอาศัยคนอื่นเสมอไป ถ้าเราทำอะไรได้เองก็สะดวก แต่ถ้าต้องคอยอาศัยคนอื่นเขาร่ำไป ย่อมไม่ได้รับความสะดวก เหมือนคนมีรถยนต์แล้วขับไม่เป็น จะไปไหนทีก็ต้องพึ่งคนขับอยู่เรื่อย ถ้าเจ็บไข้ได้ป่วยเราก็ไปไม่ได้)
  • อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ
    (พิมเสนเป็นของมีค่างมากกว่าเกลือ คืออย่าลดตัวลงไปสู้กับคนชั่วต่ำ มีแต่เสียศักดิ์ศรี เพราะไม่คู่ควรกัน)
  • อย่าเอาทองไปลู่กระเบื้อง
    (ความอย่างเดียวกับ “อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ”)
  • อย่าเอามะพร้าวห้าวไปขายสวน
    (จะไม่ได้ประโยชน์อะไร เขาจะหัวเราะเยาะได้ เพราะในสวนเขาก็มีมะพร้าวอยู่แล้ว หมายความว่า อย่าเอาสิ่งของหรืออะไรก็ตามแสดงต่อผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในสิ่งนั้นเป็น ที่ลือชาปรากฏอยู่แล้ว เพราะจะทำให้ดูเหมือนว่าตนเป็นคนโง่เขลา เบาปัญญา หรือเซ่อเซอะอะไรทำนองนั้น)
  • อย่าเอาลูกเขามาเลี้ยว อย่าเอาเมี่ยงเขามาอม
    (อย่าเอาของคนอื่นมาชื่นชมยินดี)

   Link   https://www.baanjomyut.com

 

สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย



สุภาษิต หมายถึง คำกล่าวที่มีคติควรฟัง มีจุดมุ่งหมายเพื่อการสั่งสอน เตือนสติให้ได้คิด แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ
  1. เมื่ออ่าน หรือ ฟังแล้วสามารถเข้าใจเนื้อความได้ทันที โดยไม่ต้องแปลความหมาย ตีความหมายเช่น ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง
  2. เมื่ออ่าน หรือ ฟังแล้ว ไม่สามารถเข้าใจเนื้อความนั้นในทันที ต้องนึกตรึกตรอง ต้องแปลความ ตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบเนื้อแท้ของคำเหล่านั้น เช่น ผีบ้านไม่ดีผีป่าก็พลอย

สำนวน หมายถึง โวหาร ทำนองพูด ถ้อยคำที่เรียบเรียง ถ้อยคำที่ไม่ถูกไวยากรณ์แต่รับใช้เป็นภาษาที่ถูกต้อง การแสดงถ้อยคำออกมาเป็นข้อความพิเศษเฉพาะภาษาหนึ่ง ๆ

สํานวนไทย จะมีความหมายโดยนัย เป็นลักษณะความหมายเชิงอุปมาเปรียบเทียบ จะไม่แปลความหมายตรงตามตัวอักษร จึงฟังแล้วมักจะ ไม่ได้ความหมายของตัวมันเอง ต้องนำไปประกอบกับบุคคล กับเรื่อง หรือเหตุการณ์จึงจะได้ความหมายเป็น คติ เตือนใจเช่นเดียวกับคำที่เป็นสุภาษิต 

คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นมา แฝงคติเตือนใจหรือ ข้อคิดสะกิดใจให้นำไปปฏิบัติได้ เป็นความหมายกลาง ๆ คือ ไม่เน้นการสั่งสอน และ เนื้อหาของใจความนั้นก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความดี หรือ ความจริงแท้ แน่นอน

ความแตกต่างของ สุภาษิต สำนวน และคำพังเพย 
สุภาษิต จะไม่มีการเสียดสีหรือติชมอย่างคำพังเพย เป็นถ้อยคำที่แสดงหลักความจริง เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่ว ๆ ไป ภาษิตนี้ยังมีความหมายรวมไปถึง สัจธรรม คำสั่งสอนที่เป็นความจริงอันเที่ยงแท้ทางศาสนาด้วย เช่น ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เป็นต้น  

สารบัญของ สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สํานวนสุภาษิตไทย ดังนี้ 
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ก.ไก่ << คลิ๊ก
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ข.ไข่ << คลิ๊ก
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ค.ควาย << คลิ๊ก
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ง.งู << คลิ๊ก
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด จ.จาน << คลิ๊ก
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ฉ.ฉิ่ง << คลิ๊ก
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ช.ช้าง << คลิ๊ก
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ซ.โซ่ << คลิ๊ก
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ด.เด็ก << คลิ๊ก 
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ต.เต่า << คลิ๊ก
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ถ.ถุง << คลิ๊ก
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ท.ทหาร << คลิ๊ก
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด น.หนู << คลิ๊ก
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด บ.ใบไม้ << คลิ๊ก
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ป.ปลา << คลิ๊ก
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ผ.ผึ้ง << คลิ๊ก
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด พ.พาน << คลิ๊ก
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ฟ.ฟัน << คลิ๊ก
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ม.ม้า << คลิ๊ก
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ย.ยักษ์ << คลิ๊ก
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ร.เรือ << คลิ๊ก
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ล.ลิง << คลิ๊ก
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ศ.ศาลา << คลิ๊ก
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ส.เสือ << คลิ๊ก
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ห.หีบ << คลิ๊ก
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด อ.อ่าง << คลิ๊ก




สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ก.ไก่

กระดี่ได้น้ำ (As gay as a lark.)
ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย
ความหมาย ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการดีอกดีใจตื่นเต้นจนตัวสั่น เกินงาม


กิ้งก่าได้ทอง
ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย

ความหมาย คนเย่อหยิ่งจองหอง หรือลำพองตน เป็นการพูดติเตียนบุคคลผู้หลงผิดคิดว่าตนดีกว่าคนอื่น หรือคนที่มีฐานะด้อย เมื่อได้ดีแล้วลืมตัว ทำเย่อหยิ่งไม่นึกถึงคนที่เคยทำคุณแก่ตน


ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง
ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย
ความหมาย ความสวยงามเกิดขึ้นได้จากการปรุงแต่ง คนจะงามได้ก็ต้องแต่งตัวให้ดูดี

กลิ้งครกขึ้นภูเขา
ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย
ความหมาย เรื่องที่กำลังจะทำหรือจะทำให้สำเร็จบรรลุผลนั้น ยากลำบากแสนเข็ญมิใช่ของที่ทำได้ง่ายนักเปรียบได้กับ การกลิ้งครกขึ้นภูเขาไปสู่ยอดเขา

  • กินบนเรือนขี้รดบนหลังคา  ความหมาย คนที่เนรคุณคนเปรียบได้กับคนที่อาศัยพักพิงบ้านเขาอยู่แล้วคิดทำมิดีมิชอบให้เกิดขึ้นภายในบ้านนั้น ทำให้เจ้าของบ้านที่ให้อาศัยต้องเดือดร้อน
  • กินปูนร้อนท้อง  ความหมาย คนที่ทำพิรุธหรือทำอะไรไว้ไม่อยากให้ใครรู้แต่เผอิญมีใครไปแคะได้ หรือเรียบเคียงเข้าหน่อยทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้เจตนาเจาะจงแต่ตัวเอง ก็แสดงอาการเป็นเชิงเดือดร้อนออกมาให้เขารู้
  • ไก่แก่แม่ปลาช่อน    ความหมาย   หญิงค่อนข้างมีอายุที่มีมารยาและเล่ห์เหลี่ยมมาก และมีกิริยาจัดจ้าน
  • กิ่งทองใบหยก    ความหมาย    หญิงและชายที่มีฐานะเสมอกัน ทั้งหน้าตาและรูปร่างสวยงามพอกัน มีอะไรที่เหมาะสมกัน จึงเป็นคู่ครองที่เหมาะสมกันมาก
  • กินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง ความหมาย  รู้ดีอยู่แก่ใจ เพราะทำเองแล้วแสร้งไม่รู้ไม่เห็น
  • กำขี้ ดีกว่า กำตด  ความหมาย  ได้ในสิ่งที่เห็นหรือเป็นของได้แน่ ดีกว่าคิดอยากได้ในสิ่งหรือของที่ไม่เห็นเหมือนไม่มีตัวตน 
  • ใกล้เกลือกินด่าง    ความหมาย    ใกล้ของดี แต่ไม่ได้กิน อยู่ใกล้กับของดีแท้ ๆ แต่ไม่ได้รับเพราะกลับไปคว้าเอาของที่ดี หรือมีราคาด้อยกว่า
  • ก่อกรรมทำเข็ญ    ความหมาย    ทำให้ยุ่งยากลำบากใจ
  • เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน  ความหมาย  ถึงจะทำงานเล็กใหญ่ หรือค้าขายอะไรก็ตาม ก็พยายามค่อย ๆ ทำให้มีผลได้แม้เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ยังดีกว่าปล่อยให้หลุดลอยไปเสีย
  • กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้  ความหมาย  ช้าเกินการ ได้อย่างเสียอย่าง การทำอะไรมัวรีรออยู่ ไม่รีบลงมือทำเสียแต่แรกครั้นพอลงมือจะทำ ก็ไม่ทันการเสียแล้วเพราะคนอื่นเขาเอาไปทำเสียก่อน การคั่วถั่วกับงาในกระทะเดียวกัน ถั่วเป็นของสุกช้างาสุกเร็วมัวรอไห้ถั่วสุก งาก็ไหม้เสียก่อน สำนวนนี้หมายถึงการทำอะไรสองอย่างพร้อมกันหรือทำอะไรสักอย่างที่ไม่รอบคอบ มัวคิดแต่จะได้ทางหนึ่งต้องเสียทางหนึ่ง
  • กินที่ลับ ขับที่แจ้ง ความหมาย  ทำอะไรไว้ในที่ลับแล้วอดปากไว้ไม่ได้เอามาเปิดเผย ให้คนทั้งหลายรู้เพื่อจะอวดว่าตนเก่งกล้า หรือสามารถทำอย่างนั้นได้
  • กินน้ำใต้ศอก  ความหมาย  หญิงที่ได้สามี แต่ต้องตกไปอยู่ในตำแหน่งเมียน้อย หรือ ได้อะไรที่ไม่เทียมหน้าเทียมตาคนอื่นเขา
  • เกลียดขี้ขี้ตาม เกลียดความความถึง ความหมาย การที่คนเราเกลียดสิ่งไหนแล้วมักจะได้สิ่งนั้นเปรียบได้กับชายที่เกลียด ผู้หญิงขี้บ่นจู้จี่แต่มักลงท้ายกลับไปได้ภรรยาขี้บ่นจู้จี่เข้าจนได้
  • ไก่กินข้าวเปลือก ความหมาย ตราบใดที่ไก่ยังกินข้าวเปลือกอยู่ ตราบนั้นคนเราก็ยังอดกินสินบนไม่ได้ นั่นเอง
  • แกว่งเท้าหาเสี้ยน  ความหมาย คนที่ชอบทำอะไรเป็นการสอดแทรกเข้าไปยุ่งกับเรื่องของผู้อื่นเข้า จนกระทั้งกลาย เป็นเรื่องกับตัวเองจนได้เสมอ
  • กินข้าวร้อนนอนสบาย ความหมาย เกียจคร้าน ชอบทำอะไรจวนตัว



สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ข.ไข่

  • ขี่ช้างจับตั๊กแตน
    ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย
    ความหมาย ลงทุนเสียมากมายเพื่อทำงานเล็ก ๆ เท่านั้น เป็นทำนองว่าผลประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มกับที่ลงทุน
  • เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม
    ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย
    ความหมาย ที่ใหนเขาประพฤติอย่างไร ก็ประพฤติตามเขาไปด้วย อย่าไปประพฤติขัดแย้งกับเขา
  • ขว้างงูไม่พ้นคอ
    ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย
    ความหมาย มีภาระหรือมีเรื่องเดือดร้อน ทั้งของตนเองและที่เกี่ยวข้องอยู่ แต่ไม่สามารถจะแก้ไขให้รอดพ้นไปได้

  • ข้าวใหม่ปลามัน
    ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย
    ความหมาย สามีภรรยาที่เพิ่งจะแต่งงานกันใหม่ ๆ ย่อมจะอยู่ในระหว่างกำลังเสพสุขสมรสมีรสชาติ

  • เขียนเสือให้วัวกลัว ความหมาย การที่ทำอะไรอย่างหนึ่งเพื่อให้เป็นการข่มขู่อีกฝ่ายหนึ่งไว้ก่อนให้กลัว 
  • ขมินกับปูน ความหมาย คนที่ไม่ลงลอยกัน หรือ รสนิยมเข้ากันไม่ได้ เมื่ออยู่ใกล้กัน ก็มักเป็นปากเสียงทะเลาะวิวาทกัน เปรียบดังขมิ้นกับปูน
  • ขี้ก้อนใหญ่ให้เด็กเห็น ความหมาย การทำอะไร ที่เป็นเรื่องไม่ดี เป็นเรื่องชั่วร้ายเลวทราม หรือการทุจริต โดยไม่มีความละอายใจ ให้ผู้อื่นเห็น โดยเฉพาะ หมายถึง ผู้ใหญ่ที่ทำให้ผู้น้อย เห็นอย่างชัดแจ้ง
  • ขนมพอผสมกับน้ำยา ความหมาย ทั้งสองฝ่ายต่างพอดีกัน จะว่าข้างไหนดีก็ไม่ได้
  • ขี่ช้างอย่าวางขอ ความหมาย การที่มีลูกน้อง หรือมีผู้น้อยอยู่ในความปกครอง บังคับบัญชาของเรา ก็อย่าประมาทละเลยเสีย ต้องหมั่นกวดขันกำชับ เปรียบได้กับคนขี่ช้างต้องคอยถือขอสับช้างบังคับช้างไว้อยู่ตลอดเวลา ถ้าวางขอหรือไม่ใช้ขอคอยสับไว้ ช้างก็อาจพาลเกเรไม่ทำงานได้
  • เขียนด้วยมือลบด้วยเท้า ความหมาย คนที่แต่แรกทำความดีจนเป็นที่เชื่อถือไว้แล้ว แต่ภายหลัง กลับทำความชั่วลบล้างความดีของตนเสียง่าย ๆ
  • ข้างนอกสุกใสข้างในเป็นโพรง ความหมาย สิ่งที่แลดูภายนอกเป็นของดีหรือของแท้ แต่แท้จริงแล้วกลับไม่ใช่ของดี หรือของแท้นัก

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ค.ควาย
  • คนล้มอย่าข้าม ไม้ล้มจึงข้าม
    ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย
    ความหมาย คนที่เคยมีอำนาจและวาสนามาก่อน แต่ต้องตกต่ำลงก็อย่าเพิ่งไปคิดดูถูกเหยียบย่ำเข้า เพราะเขาอาจกลับฟื้นฟูขึ้นอีกได้ ไม่เหมือนไม้ที่ไม่มีชีวิตวางทิ้งไว้จะข้ามจะเหยียบอย่างไรก็ได้

  • คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล
    ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย
    ความหมาย คบคนชั่ว คนชั่วก็ชักพาเราให้พลอยไปทำชั่วด้วย ถ้าคบคนดีมีความรู้ ก็ทำให้เราได้รับผลดีหรือได้รับความรู้ดีตามไปด้วย

  • คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ 
    ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย
    ความหมาย คนที่จะรักเราจริง ๆ มีน้อยแต่คนเกลียดหรือคนชังเรามีเป็นส่วนมากกว่า
  • คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย ความหมาย เมื่อเวลาไปไหนคนเดียวไม่ปลอดภัยนัก อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ถ้าไปด้วยกันสองคน ก็อาจจะช่วย ขจัดเหตุร้าย หรือเป็นเพื่อนอุ่นใจ ได้ดีกว่า ไปคนเดียว
  • ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก ความหมาย มีเรื่องราว เดือดร้อนเกิดขึ้น ยังไม่ทันจะแก้ไข หรือจัดการให้สงบดี ก็เกิดมีเรื่องใหม่ซ้อนขึ้นมาอีกครั้ง
  • คนตายขายคนเป็น ความหมาย คนที่ตายไปแล้ว มีหนี้สินติดตัวอยู่มาก ทำให้คนที่อยู่ ซึ่งเกี่ยวข้อง หรือเป็นญาติพี่น้องต้องรับผิดชอบใช้หนี้ และมิหนำซ้ำ ต้องเป็นภาระในการจัดทำศพอีกด้วย
  • โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ ความหมาย คิดกำจัดศัตรู ก็ต้องปราบให้เรียบ อย่าให้พรรคพวกของมันเหลือไว้เลย แม้แต่คนเดียว มิฉะนั้นพวกที่เหลือนี้จะกลับฟื้นฟูกำลังขึ้นมา เป็นศัตรูกับเราภายหน้าได้อีก คือต้อง ขุดราก ถอนโคน
  • ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ความหมาย เป็นคนมีความรู้สารพัด เกือบทุกอย่าง แต่ถึงคราวเกิดเรื่องขึ้นกับตัวเอง กลับจนปัญญาแก้ไข 
  • คางคกขึ้นวอ
    ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย
    ความหมาย เปรียบเทียบคนที่มีฐานะต่ำต้อย พอได้ดีแล้วก็มักแสดงกิริยาอวดดีลืมตัว วอในที่นี้ มีความหมายถึง วอที่นั่ง มีบริวารคอยหามเวลาเดินทางไปใหนมาใหน

  • คลื่นกระทบฝั่ง ความหมาย คือเรื่องราวที่เกิดขึ้น แล้วดูจะเป็นเรื่องใหญ่โต เรื่องสำคัญแต่แล้วเรื่องนั้นก็เงียบหายไปเฉยๆ เหมือนกับคลื่นน้ำในทะเลนั่นเอง
  • คบคนจรหมอนหมิ่น ความหมาย คบคนแปลกหน้า ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน อาจเกิดโทษหรืออันตรายได้ เหมือนหนุนหมอนหมิ่น ๆ ไม่ยอมหนุนตรงกลางหมอนอาจตกหมอนคอเคล็ดได้เช่นกัน
  • คมในฝัก ความหมาย เป็นคนเก่ง แต่เงียบไว้ไม่โอ้อวด
  • คาบลูกคาบดอก ความหมาย อยู่ในระยะคับขันกำลังจะได้หรือเสียก้ำกึ่งกัน เปรียบเทียบกับ ต้นไม้ที่ออกดอกและกำลังจะเป็นลูกคาบเกี่ยวกันนั่นเอง
  • คู่เรียงเคียงหมอน ความหมาย ชายหญิงที่อยู่กินร่วมกันฉันผัวเมีย ผัวเมียที่อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันนั่นเอง
  • คดในข้องอในกระดูก ความหมาย คนที่เชื่อและไว้วางใจไม่ได้ ซึ่งมีสันดานคดโกงและฉ้อฉล

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ง.งู

  • งูเห็นนมไก่ ไก่เห็นตีนงู
    ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย
    ความหมาย คนสองคนต่างคนต่างเห็นหรือรู้เรื่องเดิมหรือรู้ความในกันดี แต่คนอื่นอาจไม่เห็น หรือไม่รู้เรื่องของคนสองคนนี้เลย
  • งูกินหาง
    ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย
    ความหมาย เกี่ยวกันเป็นวงจนหาที่สิ้นสุดไม่ได้ ตัวอย่าง ฉันเบื่อการทวงหนังสือคืนแล้วหละ ทวงคนนี้บอกว่าอยู่ที่คนนั้น ทวงคนนั้นบอกว่าอยู่ที่คนโน้น ไม่สิ้นสุดราวกับงูกินหางเลยทีเดียว
  • งอมพระราม ความหมาย มีความทุกข์ยากลําบากเต็มที่ เหมือนพระรามต้องถูกขับไล่ไปอยู่ป่า
  • งูเงี้ยวเขี้ยวขอ ความหมาย สัตว์ร้ายนานาชนิดสำนวนนี้บ่งบอกถึงอันตรายตรงๆของสัตว์มีพิษพวกนี้เพราะชีวิตของคนสมัยก่อนต้องทำไร่ทำสวน ต้องเดินผ่านสุมทุมพุ่มไม้ หรือเดินตามคันนาหัวไร่ หรือไปไหนมาไหนตอนกลางค่ำกลางคืนก็ให้ระวัง งูเงี้ยวเขี้ยวขอ มันจะกัดจะต่อยเอา
  • เงาตามตัว หมายถึง ผลของการกระทำที่เกิดตามติดมาทันที หรือผู้ที่ไปไหนไปด้วยกันแทบไม่คลาดกันเลย
  • เหงื่อไหลไคลย้อย หมายถึง เหงื่อ และขี้ไคล เช่น อากาศร้อนมากจนเหงื่อไหลไคลย้อยกันหมดแล้ว หรือออกแรงทำงานหนัก ๆ
  • งมเข็มในมหาสมุทร
    ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย
    หมายถึง ค้นหาสิ่งที่ยากจะค้นหาได้ ทํากิจที่สําเร็จได้ยาก
  • เงื้อง่าราคาแพง หมายถึง จะทําอะไรก็ไม่กล้าตัดสินใจทําลงไป ดีแต่ทําท่าหรือวางท่าว่าจะทําเท่านั้น
  • โง่เง่าเต่าตุ่น หมายถึง โง่มาก คือ เต่าเป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวช้า ตุ่นเป็นสัตว์ที่รูปร่างคล้ายหนู ชอบขุดรูอยู่ ชอบกินพืช เต่าและตุ่นมักถูกนำมาเปรียบกับคนโง่และคนเซ่อ เง่าหรือง่าว เป็นคำไทยเหนือแปลว่า โง่

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด จ.จาน

  • จับปลาสองมือ 
    ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย
    ความหมาย คนที่อยากจะได้สองอย่างทีเดียวพร้อมๆ กัน  โดยไม่คำนึงว่าตนเองมีความสามารถที่จะทำได้หรือไม่ เปรียบเทียบกับการใช้มือจับปลาตัวเดียวให้มั่นดีกว่าจับด้วยมือเดียวหรือข้างละตัว ซึ่งอาจจะไม่มั่นพอ ทำให้ปลาทั้งสองตัวหลุดตกน้ำไปหมด ไม่ได้อะไรเลย
  • จับเสือมือเปล่า
    ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย
    ความหมาย ใช้เปรียบกับการที่ทำงานอะไรสักอย่างโดยไม่ต้องลงทุน หรือไม่มีทุนจะลงเลย ซึ่งอาจจะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ก็ตามเรียกว่าเป็นการลองเสี่ยง หรือการลองใช้ความสามารถส่วนตัวทำดู
  • จอดเรือไม่ดูท่า ขี่ม้าไม่ดูทาง
    ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย
    ความหมาย การทำอะไรไม่พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน ซึ่งอาจจะเกิดการผิดพลาดหรือเสียหายได้ เปรียบเทียบกับการจอดเรือหรือขี่ม้า ถ้าไม่ตรวจดูท่าจอดให้แน่นอน หรือไม่ดูหนทางที่จะขี่ม้าไปว่าจะเหมาะหรือไม่ อาจจะเกิดความผิดพลาดเสียหายได้
  • โจรปล้น ๑๐ ครั้งไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว ถึงแม้คนเราจะถูกโจรขึ้นปล้นบ้านสัก ๑๐ ครั้ง ก็ยังไม่ทำให้ข้าวของ หรือทรัพย์สินบางอย่างภายในบ้านเราถึงขนาดหมดเกลี้ยงตัวเลยทีเดียวนัก แต่ไฟไหม้ครั้งเดียว เผาผลาญทั้งทรัพย์สิน และที่อยู่เราวอดวายเป็นจุลไปหมดเกลี้ยง
  • จับปูใส่กระด้ง
    ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย
    ความหมาย ปูมักไม่คอยจะอยู่นิ่งเมื่อจับไปวางตรงไหน มันก็พยายามจะไต่ไปไต่มาเพื่อจะหาทางออก หรือคิดหนีไปท่าเดียว เปรียบได้กับคนหรือเด็กเล็ก ๆ ที่ซกซนอยู่ไม่นิ่ง ถึงจะอยู่ในที่บังคับอย่างไรก็จะดิ้นหรือซนเรื่อยไป
  • ใจปลาซิว ความหมาย มีใจไม่อดทน ยอมแพ้อะไรง่ายๆ
  • จ้าวไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด ความหมาย เป็นสำนวนเปรียบเปรยถึงคนที่เร่ร่อนไม่มีที่อยู่ประจำเป็นหลักแน่นอน.
  • จิ้งจกตีนศาล ความหมาย หากินเล็กๆน้อยๆ กับผู้มาติดต่อราชการ หรือพวกกระจอกงอกง่อย
  • เจ้ายศเจ้าอย่าง ความหมาย ถือยศถาบรรดาศักดิ์ ถือตัวถือศักดิ์ มีพิธีรีตรอง
  • จับแพะชนแกะ ความหมาย เอาทางโน้นมาใช้ทางนี้ เอาทางนี้ไปแทนทางโน้น สับสนวุ่นวายไปหมดหรือทำให้ไม่ประสานกันหรือไม่ต่อเนื่องกัน นั่นเอง
  • จูบคำถลำแดง ความหมาย มุ่งหมายที่จะเอาอย่างหนึ่ง กลับไปได้อีกอย่างหนึ่ง
  • เจ้าชู้ประตูดิน ความหมาย เจ้าชู้ที่เกี้ยวไม่เลือกหน้า คือสมัยก่อนหนุ่มๆที่อยากดูสาวชาววังก็ต้องรอตอนสาวชาววังออกมาจับจ่ายซื้อหาข้าวของนอกประตูดินถึงจะได้เห็น และได้เกี้ยว 
  • เจ้าชู้ไก่แจ้ ความหมาย บุคคลบางคน มีนิสัยชอบผู้หญิง แต่ไม่กล้าไปพูดจาเกี้ยวพาราสีกลัวเขาจะไม่พูดด้วย กลัวจะเสียหน้า จึงได้แต่แต่งตัวดี ๆ แต่งตัวหล่อ ๆ หวีผมทาแป้งแล้วไปเดินผ่าน เดินกรีดกรายทำท่าทางกระดิกกระดี้ให้หมู่สตรีเขาแลมองเท่านั้นเอง

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ฉ.ฉิ่ง
  • ฉลาดแกมโกง ความหมาย การใช้ความรู้ความสามารถเอาเปรียบผู้อื่น ยกตัวอย่างเช่น ศรีธนญชัย
  • ฉิบหายวายป่วง ความหมาย การทำอะไรที่ ทำให้สูญเสียหมด ล่มจม วอดวาย 
  • ฉ้อราษฎร์บังหลวง ความหมาย ข้าราชการที่ใช้อำนาจหน้าที่เบียดบังเอาเงินทอง และทรัพย์สิน โดยอำนาจหน้าที่ราชการที่มีอยู่
  • ฉับพลันทันด่วน ความหมาย เป็นอะไร หรือ เกิดอะไรขึ้น รวดเร็ว ไม่ทันตั้งตัว
  • ฉกชิงวิ่งราว ความหมาย มิจฉาชีพที่ทำอาชีพทุจริต โดยการ ฉก ชิง วิ่งราว แย่งเอาจากเจ้าของโดยไม่ได้ยินยอม
  • ฉิบหายขายตน ความหมาย เหมือนกับ ฉิบหายวายป่วง คือ เกิดความสูญเสีย ล่มจม วอดวาย

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ช.ช้าง

  • ช้า ๆ ได้พร่าเล่มงาม 
    ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย
    ความหมาย การทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ถ้ามุ่งจะให้ได้ประโยชน์สมบูรณ์ก็ต้องทำด้วยความรอบคอบ หรือไม่รีบร้อนจนเกินไปนัก คือ ให้ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทำ อย่าเร่งรีบจนเกินไป แต่ไม่ได้หมายความว่า ทำงานแบบเอื่อยเฉื่อยไม่มีความกระตือรือร้น
  • ชักแม่น้ำทั้งห้า ความหมาย การเจรจา หว่านล้อมหรือขอร้องอะไรก็ตามที่จะไม่พูดตรงๆ แต่จะพูดอ้อมๆหว่าน ล้อมก่อนจะเข้าจุดประสงค์
  • ชักน้ำเข้าลึกชักศึกเข้าบ้าน นำศัตรูเข้าบ้าน คือ ทำอะไรก็ตามที่เป็นเหตุให้อันตรายมาถึงตัวเอง
  • ชาติคางคกยางหัวไม่ตกไม่รู้สำนึก ความหมาย คนที่อวดดี หรือชอบกระทำนอกลู่นอกทาง เมื่อมีคนทักท้วงก็ไม่เชื่อฟัง ยังขืนกระทำ จนเขาหมั่นไส้ปล่อยให้ลองทำเพื่อจะให้รู้สึกตัวบ้าง เพราะเชื่อว่าการกระทำนั้น ๆ จะต้องได้รับอันตรายถึงเลือดตกหรือเจ็บปวดเข้าก็ได้ จะได้รู้สึกได้ด้วยตัวเอง
  • ชักหน้าไม่ถึงหลัง ความหมาย เงินไม่พอใช้ ค่าใช้จ่ายเยอะ ไม่พอเพียงกับความต้องการใช้ในชีวิตประจำวัน
  • ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ ความหมาย ตามหลักที่ว่าผู้ชาย จะทำอะไรก็ต้องให้เก่งกล้า หรือองอาจ ไม่อ่อนแอเหมือนผู้หญิง โดยเฉพาะหมายความว่า ขึ้นชื่อว่าผู้ชายแล้วจะต้องเก่งกล้าสามารถทุกคนเปรียบได้กับเสือ เพราะเสือเป็นสัตว์ดุร้ายแต่เก่ง ถือเอาลายของมันเป็นสัญลักษณ์ของความ เก่งกาจ จึงได้ชื่อว่า ชาติเสือต้องไว้ลายชาติชายต้องไว้ชื่อ
  • ชักใบให้เรือเสีย ความหมาย เป็นการพูดหรือทำอะไรให้เป็นที่ขวาง ๆ หรือทำให้เรื่องในวงสนทนาต้องเขวออกนอกเรื่องไป โดยไม่คิดว่าเรื่องที่เขากำลังพูดหรือทำอยู่นั้นจะมีความสำคัญขนาดไหน จึงถือเป็นเรื่องไม่ถูกกาลเทศะ
  • ชิงสุกก่อนห่าม ความหมาย การทำอะไรก็ตาม ที่ข้ามขั้นตอน หรือยังไม่ถึงเวลาก็ชิงทำไปก่อน เช่น เด็กที่อายุไม่ถึงเวลามีแฟน ก็รีบมีก่อนที่จะเป็นสาวเต็มตัว
  • ชักธงขาว
    ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย
    ความหมาย สัญลักษณ์ของการยอมแพ้ 
  • ชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้ ความหมาย ว่ายังไงว่าตามกัน หรือ ไม่ว่าผู้มีอํานาจจะว่าอย่างใด ผู้น้อยก็ต้องคล้อยตามไปอย่างนั้นเพราะกลัวหรือประจบ
  • ชี้โพรงให้กระรอก
    ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง ความหมาย สุภาษิตไทย สํานวน สุภาษิต คําพังเพย
    ความหมาย ผู้ที่ชอบทำอะไรอยู่เป็นนิสัยแล้ว เช่น ชอบเที่ยวถ้ามีผู้บอกว่าที่นั่นที่นี่น่าเที่ยว ก็จะไป หรือผู้ที่เป็นขโมยถ้ามีผู้บอกว่า บ้านนั้นบ้านนี้มีทรัพย์สินเงินทองมาก ก็จะหาทางเข้าขโมย เช่นนี้ เรียกว่า ชี้โพรงให้กระรอก
  • ชายสามโบสถ์ หญิงสามผัว ความหมาย สำนวนนี้ คือผู้ชายที่บวชมาแล้ว ๓ ครั้ง กับผู้หญิงที่ผ่านการมีสามีมาแล้ว ๓ คน โบราณมีข้อห้ามมิให้เพศตรงข้ามไปมีสัมพันธ์ทางรักใคร่หรือชู้สาวด้วย คือผู้หญิงก็ไม่ควรไปมีสามีชนิดนี้ หรือผู้ชายก็ไม่ควรไปมีภรรยาชนิดนี้เข้า ซึ่งตามความเข้าใจว่าบุคคลชนิดนี้ใจคอไม่มั่นคงหรือรวนเลได้โดยสังเกตเอา อาการกระทำเป็นเครื่องวัด ในความโลเล ไม่มั่นคง

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ซ.โซ่


สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ด.เด็ก 
  • ดอกกระดังงาไทย ไม่ลนไฟไม่หอม ความหมาย สิ่งใดก็ตามถ้าปล่อยทิ้งไว้เปล่า ๆ หรือไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็เป็นสิ่งธรรมดา ไม่ดีหรือไม่เลว แต่ถ้าไปทำให้มีเรื่องขึ้น กลับดูเหมือนจะทำให้ดีกว่าเก่า ตามความหมายดังกล่าวนี้  เราจึงมักจะเอามาใช้เป็นสำนวนเปรียบเปรยว่า  หญิงสาวบางคนที่บริสุทธิ์ นั้นดูเป็นสิ่งธรรมดา ไม่มีอะไรเป็นจุดเด่น หรือ แปลกตา แต่ถ้าได้แต่งงานกับสามีหรือหย่าร้างกันไปก็เหมือน ดอกกระดังงาไทย ที่นำมาลนไฟด้วยเทียนผึ้งแล้วก็จะมีกลิ่นหอมโชย
  • ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ความหมาย  ดูวัวให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ” ” ดูข้างให้ดูหน้าหนาว ดูสาวให้ดูหน้าร้อน ” ดังที่ได้ยินได้ฟังมาบ้างแล้ว แต่สำนวนที่ว่า ” ดูช้างให้ดูหาง ” นี้ มุ่งให้ดูหางช้าง  ที่บอกลักษณะ ว่า เป็นช้างดี หรือ ช้างเผือก เพราะที่ปลายหางของมันยังเหลือให้เห็นสีขาวอยู่ ตามเรื่องที่เล่าว่า  เวลาช้างพังตกลูก เป็นช้างเผือกสีประหลาด พวกช้างพลายและช้างพังจะช่วยกัน ” ย้อม ” กลายลูกมันเสีย ด้วยการใช้ใบไม้ หรือ ขี้โคนดำ ๆ พ่นทับ เพื่อมิให้คนรู้ว่า เป็น ช้างเผือกแต่จะมีส่วนที่ยังหลงเหลืออยู่นั่นก็คือหางของมันนั่นเอง
  • เดินตามหลังราชสีห์ ดีกว่าเดินตามก้นสุนัข  ความหมาย  เป็นสำนวนที่เพิ่งเกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน  หรือ ไม่มีนานมานี้นัก เรืองอำนาจในสมัยนั้น โดยถือคติยอมเป็นสมัคพรรคพวกของผู้มีอำนาจราชศักดิ์  ดีกว่ายอมร่วมวง กับผู้ ที่ปราศจากอำนาจ หรือทรัพย์สินเงินทอง
  • ได้แกง เทน้ำพริก ความหมาย เปรียบเทียบว่า  ได้ใหม่แล้วลืมคนเก่านั่นเอง มักจะใช้เป็นสำนวนเปรียบเปรย  ผู้ชายเราที่ได้ภรรยาใหม่ก็ทิ้งเก่าไปเลย คำว่า ” น้ำพริก ”  หรือ  น้ำพริกถ้วยเก่า  เราจะหมายถึงภรรยาเก่าโดยเฉพาะ ก็เหมือนอาหารที่เราทำแล้วไม่มีรสชาติหรือขาดอะไรไปบางอย่างนั่นเอง
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ต.เต่า
  • ต้นไม้ตายเพราะลูก ความหมาย พ่อแม่ที่ต้องเสียเพราะลูก เช่น  การรักลูกมากจนยอมเสียสละชีวิต หรือทรัพย์สินเพื่อลูก ตามที่ว่า ” ต้นไม้ตายเพราะลูก ” โดยที่ว่าต้นไม้บางชนิด เมื่อมีลูก หรือ มีดอกผลมักจะตาย หรือ โคนเพราะคนมาเก็บ หรือเมื่อออกดอกออกผลแล้ว  ก็มักจะแห้งเหี่ยวตายไปตามๆกันเปรียบเหมือนต้นไม้ที่ขาดน้ำ
  • ตกกระไดพลอยโจน ความหมาย เป็นสำนวนที่ หมายความว่า  ติงานที่เขากำลังเริ่มต้นทำใหม่ ยังไม่ทันได้เห็นผลงานของเขา หรือเรียกว่า  มีปากก็ติพล่อย ๆ โดยไม่รู้ว่า  ฝีมือเขาจะเป็นยังไง ” โกลน ” สำนวนนี้หมายถึง ซุง ทั้งต้นที่เขาเอามาเกลาหรือถาก ตั้งเป็นรูปขึ้นก่อน เพื่อที่จะต่อเป็นเรือขุด โกลนในชั้นแรก จึงดูไม่ค่อยเป็น รูปร่างดีนัก
  • ตีวัวกระทบคราด ความหมาย เป็นการแสร้งทำหรือแสร้งพูด เพื่อที่จะให้กระทบกระเทือนอีกฝ่ายหนึ่ง การเอา วัวกับคาดมาเปรียบ ก็เพราะ คราดซึ่งใช้เป็นเครื่องมือกวาดลาน ฟาง หรือหญ้าในนานั้นผูกเป็นคันยาว ใช้วัวลากและคราดจะเป็นฝ่ายกระตุ้นให้วัวทำงานลากคราดไป ซึ่งผลงานคงจะอยู่ที่คราด เป็นตังกวาด เมื่อคราดไม่ทำงานก็เลยใช้วิธีตีวัวให้ลากคราด เป็นทำนองว่า ” ตีวัวกระทบคราด ” วัวเลยกลายเป็นแพะรับบาป เพราะคราด ความหมายคล้ายกับว่า  เราทำอะไรคนหนึ่งไม่ได้ แต่ไปลงกับอีกฝ่ายหนึ่ง เช่นสัตว์เลี้ยง หรือคนที่ไม่รับรู้อะไรเลย
  • ตัวเป็นขี้ข้า อย่าให้ผ้าเหม็นสาบ ความหมาย  เป็นการสอนให้คนเราประพฤติชอบแต่ในทางที่ดีไม่ให้ประพฤติตนไปในทางเสื่อมเสีย แม้จะมีฐานะยากจนหรือ เป็นตนใช้หรือลูกจ้างเขา ก็ตามแต่ ก็ต้องรักษาความดี ความซื่อสัตว์ รวมทั้งความสะอาดกายด้วย  อย่าปล่อยให้ตัวเองตกเป็นเหยื่อของความชั่วเป็นต้น
  • ตาบอดได้แว่น ความหมาย เช่น  คนหัวล้านได้หวี นิ้วด้วนได้แหวน ” มี ความหมายเดียวกัน หมายถึง การที่เราได้ในสิ่งที่มีประโยชน์แก่ตนเองแม้แต่น้อย เพราะคนศรีษะล้าน ย่อมไม่มีผมจะหวี และ คนตาบอดถึงจะใส่แว่นก็มองไม่เห็น เพราะคนตาบอดสัมผัสไม่ได้ถึงแสงสว่าง
  • ตีงูให้หลังหัก ความหมาย  เป็นการ เตือนสติให้เราได้รับรู้ว่า เมื่อคิดจะทำอะไรก็ต้อง ตัดสินใจทำเด็ดขาด หรือจริงจังไปเลย อย่าทำครึ่ง ๆ กลาง ๆ มิฉะนั้น ผลร้ายจะเกิดขึ้นภายหลังได้ เหมือนกับการที่จะตี หรือ กำจัดงูพิษ เราก็ต้องตีให้ตาย หรือ ให้หลังหักไปเลย ไม่ฉะนั้นมันจะย้อนกลับมาทำร้ายเราทีหลังได้
  • เต่าใหญ่ไข่กลบ  ความหมาย การที่จะทำอะไรที่เป็นพิรุธแล้วพยายามจะกลบเกลื่อนไม่ให้คนอื่นรู้ ก็เหมือนกับการเอาเต่ามาเป็นคำเปรียบเทียบ ก็เพราะธรรมชาติของเต่าใหญ่  เช่น เต่าตนุเวลาจะวางไข่ ก็คลานขึ้นมาบนหาดทราย แล้วคุ้ยทรายให้เป็นหลุมเพื่อไข่ พอไข่เสร็จ ก็คุ้ยทรายกลบไข่เสีย เพื่อซ้อนไข่ตนไม่ให้ศัตรูมาทำร้าย หรือ ทำลายไข่ของตน

  • ตีตนไปก่อนไข้ ความหมาย จะมีอะไรที่ไม่ดี หรือ ข่าวร้ายเกิดขึ้นกับตัว โดยที่ยังไม่เป็นที่แน่นอน ว่าจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่จริงก็เป็นได้ แต่ก็ดันชิงแสดงอาการ ทุกข์ร้อน หรือ หวาดกลัว หรือ วิตกกังวลไปเสียก่อน แล้วทำให้หมดกำลังใจ หรือ กำลังความคิดที่คิดป้องกันไว้ก่อน  เรียกกันว่า  ไข้ยังไม่ทันมาถึงก็ดันตีตนไปก่อนไข้ หรือ กระวนกระวายไปเอง

  • ตัวตายดีกว่าชาติตาย ความหมาย เป็นสำนวน  ปลุกใจที่สืบต่อกันมาหลาย ชั่วอายุคนแล้ว มีความหมาย ไปในทางให้คนเรารักประเทศชาติบ้านเมืองของตนเอง เมื่อยามมีศัตรูมารุกรานบ้าเมือง ก็พร้อมที่จะร่วมกันพลีชีวิต ต่อสู้เพื่อ ป้องกันประเทศชาติบ้านเมืองเพื่อไม่ให้ผู้ใดมาทำลายประเทศของตนเอง
  • ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ความหมาย การกระทำอะไรสักอย่างที่ไม่เหมาะสม หรือ ได้สมดุลกัน หรือ ใช้จ่ายทรัพย์ลงทุนไปในทางที่ไม่เกิดประโยชน์อะไร เช่น ลงทุนเล็กน้อยเพื่อทำงานใหญ่ ซึ่ง ต้องใช้เงินมาก ๆ ย่อมไม่อาจสำเร็จได้ง่าย ต้องสูญทุนไปเปล่า ๆ ก็เหมือนกับการตำน้ำพริกเพียงครกเดียว แล้วนำไปละลายในแม่น้ำบ่อใหญ่ๆนานๆไปก็สูญเปล่า

  • ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา ความหมาย เป็นเชิงเตือนสติคนที่ไม่รู้จัก ที่ต่ำ ที่สูง หรือ คนที่ทะเยอทะยานทำตนเสมอกับคนที่สูงกว่า  ให้รู้จักยั้งคิดว่าฐานะของตนเอง ว่า เป็นอย่างไรเสียก่อน จึงค่อยคิดจะไปเทียบเทียมหน้าคนอื่น  ความหมาย ทำนองเดียวกับที่ว่า  ส่องกระจกดูเงาของตัวเองเสียก่อนที่จะไปว่าคนอื่นเขา

  • ตีงูให้กากิน  ความหมาย การลงทุน หรือลงแรง ทำอะไรขึ้นอย่างโดยไม่ได้เกิดประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น  เปรียบดั่ง ตีงูซึ่งต้องใช้ความกล้า หรือ กำลังเล่นงานงู แต่ครั้นพองูตายแล้วก็เอามาทำประโยชน์อะไรไม่ได้  ต้องทิ้งให้มีกลิ่นเหม็นหรือไม่ก็นำไปทิ้งให้กามาจิกกินเนื้อของงูกาเหล่านี้มักจะบินตามกันมาเป็นฝูงใหญ่ๆ

  • เตี้ยอุ้มค่อม ความหมาย คนที่มีฐานะยากจนอยู่แล้ว ยังอุตส่าห์ไปช่วยคน ที่ยากจนกว่าตนเข้าอีกเท่ากับ ” เตี้ยอุ้มค่อม ” คือ ยิ่งทำให้ตัวเองแย่ลงไปอีก  หรือ จะเปรียบได้อีกทางหนึ่ง ว่า คนที่ทำงาน หรือ ทำอะไรที่เป็นภาระใหญ่ๆอยู่มากมาจนเกินสติกำลังของตนเองแต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าตนเองจะทำไปได้ตลอดชีวิตของตนหรือเปล่า
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ถ.ถุง
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ท.ทหาร
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด น.หนู
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด บ.ใบไม้
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ป.ปลา
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ผ.ผึ้ง
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด พ.พาน
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ฟ.ฟัน
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ม.ม้า
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ย.ยักษ์
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ร.เรือ
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ล.ลิง
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ศ.ศาลา
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ส.เสือ
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ห.หีบ
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด อ.อ่าง




Link    https://www.rakjung.com