นิทานพื้นบ้านภาคเหนือ เรื่อง ผาเผียบ
ความหมายของนิทานพื้นบ้านภาคเหนือ นิทานพื้นบ้านภาคเหนือ เรื่อง ผาเผียบ นิทานพื้นบ้านภาคเหนือสั้นๆ นิทานพื้นบ้านภาคเหนือ
นิทานพื้นบ้านภาคเหนือ เรื่อง ผาเผียบ
...นิทานพื้นบ้านภาคเหนือ
นิทานพื้นบ้านภาคเหนือ เรื่อง ผาเผียบ
เนื่องจากเมืองนี้ตั้งอยู่ย่านกลางระหว่างภาคเหนือ เรือแพจะขึ้นลงจะต้องแวะเมื่อเวลาผ่านและจอดพักก่อนขึ้นและลงแก่งหน้าเมือง สร้อยเสมอ
ดังนั้นนครแห่งนี้จึงเป็นเสมือนชุมทางค้าขายและเผยแพร่วัฒนธรรม รวมทั้งพระพุทธศาสนาพระสงฆ์ที่มาจากสุโขทัย จากนครศรีธรรมราช จากพม่า และจากลังกา จะขึ้นไปยังนครพิงค์ต้องผ่านเมืองนี้ทุก ๆ ครั้ง
เมื่อเมืองสร้อยเป็นชุมทางผ่าน มีผู้คนมากมาย ดังนั้น พระพุทธศาสนาจึงแพร่หลายและเจริญในถิ่นนี้ จากการบอกเล่าของผู้รู้บางท่านกล่าวว่า ณ เมืองสร้อยมีวัดโบราณที่ร้างอยู่เกือบร้อยวัด
เป็นธรรมดาที่ใดมีความเจริญทางพระพุทธศาสนาและวัดวาอารามมาก ที่นั่นย่อมมีผู้รู้และนักปราชญ์มากขึ้นตามจำนวน ตามคำเล่าปรากฏว่าแม้แต่สามเณรก็มีความเชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิกฎยิ่งนัก
ตามวัดวาอารามต่าง ๆ นิยมสร้างตู้พระธรรมและเขียนพรกะไตรปิฎกลงในใบลาน บรรจุไว้จนเต็มตู้ แต่ละวัดมีพระธรรมที่จารึกลงไว้ในใบลานมากมายนับเป็นหลาย ๆ หีบ เก็บไว้ที่หอพระธรรม ( หอไตร )
กาลครั้งหนึ่งมีสามเณรจากเมืองสร้อยได้นำเรือพายขึ้นไปทางเหนือ รวบรวมเครื่องสมุนไพรว่าน ยาวิเศษต่าง ๆ รวมทั้งทำการค้นคว้าหาความรู้จากพระไตรปิฎกที่มีอยู่ตามอารามต่าง ๆ ใกล้ฝั่ง
สามเณรรูปนี้เป็นผู้รอบรู้และแตกฉานในพระธรรมยิ่งนัก เมื่อใครกล่าวถึงนิทานหรือพระสูตรตอนไหน สามเณรจะสามารถบอกได้ทันทีว่าอยู่ ณ ที่ใด จนเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไป
เนื่องจากต้องพายเรือทวนน้ำขึ้นมาไกลและรอนแรมเป็นเวลาหลายวัน คนพายเรือให้รู้สึกเบื่อประกอบกับประเดี๋ยวแวะจอดโน่น ประเดี๋ยวแวะจอดนี่ ทำให้ศิษย์เกิดความรำคาญ ครั้นจะพูดออกมาตรง ๆ ก็ไม่กล้าเพราะยังเกรงใจอยู่ คงเก็บความไม่พอใจนั้นไว้แต่ในใจผู้เดียว คอยหาช่องทางที่จะว่าหรือระบายออกมา แต่ยังไม่ได้โอกาส
สำหรับสามเณรรูปนี้อย่างอื่น ๆ แล้วท่านไม่มีอะไรบกพร่อง เสียแต่อย่างเดียว คือมีลักษณะพิการอย่างหนึ่งที่แก้ไม่หาย สิ่งนั้นคือกระดูกสันหลังพิการ หลังโกงตลอดมาแต่เล็กจนโต
ขณะที่พายเรือทวนน้ำขึ้นมาถึงหน้าผาแห่งหนึ่ง มีก้อนผาใหญ่สีเหลือง ๓ ก้อน ตั้งอยู่เรียงกันรูปของผานั้นคล้ายกับวัวป่า ๓ ตัว ฟุบตัวนอนหมอบอยู่
ใต้หน้าผาเป็นวังน้ำลึกถ่อหยั่งไม่ถึง ศิษย์ต้องออกแรงพายจนเหนื่อยหอบ พอเรือพ้นวังไปศิษย์จึงถามขึ้นว่า ‘’ ท่านครับ ผมได้ยินว่าท่านรอบรู้และแตกฉานในพระธรรมยิ่งนักใช่ไหม ”
สามเณรยิ้มไม่ตอบ เขาคงถามออกไปอีกว่า ‘’ ผมอยากถามท่านสักหน่อย เพราะพ่อเคยบอกไว้นานแล้ว ผมไม่มีโอกาสถามใคร ดังนั้นวันนี้มากับท่าน จึงขอเรียนถามว่า …..”
สามเณรหันหน้ามาดูและตอบว่า ‘’ จะถามอะไรก็ถามมาเถิด หากรู้จะบอกให้ ”
ศิษย์จึงพูดต่อไปว่า ‘’ พ่อบอกว่าพระธรรมชื่อโลพกํนั้นเขาว่าดีเหลือเกิน อยากรู้นักว่าพระธรรมบทนี้ดีอย่างไร ท่านรู้ไหมครับ ”
สามเณรนิ่งอึ้ง คิดทบทวนความจำว่าอยู่ในพระธรรมบทไหน คิดอยู่ตั้งนานก็คิดไม่ออก คลับคล้ายคลับคลาว่าจะจำได้ แต่ยังคิดไม่ออก
หรือว่าพระธรรมบทนี้ไปซ่อนอยู่ในพระธรรมบทใด พระไตรปิฎกส่วนมากทุก ๆ เล่มนั้นได้ผ่านสายตามาจนหมดสิ้น ทำไมเรื่องนี้จึงไม่ทราบเล่า
ด้วยความสงสัยอยากทราบว่าพระธรรมโลพกํ เป็นธรรมเกี่ยวกับเรื่องอะไร ทำให้ท่านระงับใจไว้ไม่ได้จึงบอกศิษย์ว่า
‘’ นี่พายเรือไปจอดที่ผานั้นที ฉันจะลองค้นดูพระธรรมที่แกว่า ดูทีว่าเป็นเรื่องอะไร ”
ศิษย์ ดีใจวาดคัดท้ายเรือเข้าเทียบตีนเขา สามเณรขึ้นจากเรือเดินลัดเลาะตามทางเข้า ปีนป่ายขึ้นไปบนหน้าผาจนถึงซึ่งเป็นที่เก็บพระไตรปิฎกมากมาย
สามเณรเริ่มลงมือค้นดูจากพระธรรมที่เก็บบรรจุไว้เต็มตู้ ค้นพระธรรมหมดหีบจนครบ ๗ หีบก็ไม่ปรากฏว่าพบธรรมเรื่อง โลพกํ เลย
เมื่อค้นจนอ่อนใจไม่พบจึงกลับลงมาขึ้นเรือ ให้ลูกศิษย์พายล่องกลับยังวัดของตนที่เมืองสร้อยเพื่อตนจะลองค้นจากหอไตรที่ วัดอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งคราวนี้คงจะพบเป็นแน่
พอเรือมาถึงวัด ท่านก็ขึ้นไปค้นหาพระธรรมที่กล่าวแล้วจากพระธรรมต่าง ๆ ซึ่งเก็บไว้ในหีบพระธรรมในหอไตร ปรากฏว่าค้นไม้พบอีกเช่นกัน
ด้วยเหตุนี้สามเณรรูปนั้นจึงนำเรื่องไปถามอาจารย์ของตนว่า ‘’ ท่านสมภารครับ ธรรมโลพกํเป็นเรื่องราวอย่างไรครับ ผมค้นหาจากตู้พระธรรมจนทั่วเมืองสร้อยแล้วไม่พบ ขอท่านอาจารย์ช่วยอนุเคราะห์ด้วยเถิด ‘’
สมภารเองเมื่อได้ยินก็เฝ้าคิดแต่ก็คิดไม่ออก จึงถามเรื่องราวแต่หนหลังว่า ต้นตอธรรมบทนี้ใครเป็นผู้กล่าวขึ้น สามเณรก็เล่าเรื่องให้ฟังและบอกว่า ‘’ ศิษย์พายเรือเป็นคนบอกให้ ”
สมภารสั่งให้เรียกศิษย์นั้นไปหา ปรากฏว่าขณะนั้นแกไม่อยู่ลากลับไปบ้าน จนกระทั่งหลายวันผ่านไป สมภารได้ประมวลเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นมาจึงคิดได้ สั่งให้คนไปเรียกสามเณรรูปนั้นมาเมื่อพบท่าน ๆ จึงบอกว่า ‘’ ธรรมโลพกํ นั้นคงไม่มีแน่ ฉันคิดว่าเจ้าศิษย์ของท่านเองมันคงจะโมโหที่ท่านใช้มันพายเรือขึ้นไป ‘’
‘’ ครั้นมันจะว่าตรง ๆ มันก็คงไม่กล้า มันจึงกล่าวเป็นคำกระทบกระเทียบเปรียบเปรยให้ท่านเข้าใจสมความแค้นของมัน โดยมันประมวลจากลักษณะพิการทางกายของท่านเป็นเกณฑ์ แล้วคิดสร้างคำขึ้นคล้าย ๆ กับคำบาลี แต่ความจริงมันมิใช่คำบาลี มันเป็นเพียงคำผวนเท่านั้นเอง ลองพิจารณาดูซิ โลพกํ หากแปลกลับมันจะแปลว่า หลังพระโก ( หลังพระโกง ) เท่านั้นเอง
ตกลงหิน ๓ ก้อน ที่พบนั้นเลยเป็นคำกล่าวเปรียบเปรยว่าให้สามเณรซ้ำใจในการที่ใช้ศิษย์ให้พาย เรือขึ้นน้ำไปเป็นเวลาหลายวัน ผา ๓ ผานั้นเลยเรียกว่า ‘’ ผาเผียบ ”
ส่วนถ้ำที่มีตู้พระธรรมอยู่ ซึ่งสามเณรขึ้นไปค้นพระธรรมจนหมดพระธรรมถึง ๗ หีบ โดยไม่พบนั้น ปัจจุบันเรียกว่า ‘’ ผาหีบ ”
นิยายเกี่ยวกับผาเผียบ และผาหีบ ก็ยุติลงด้วยใจความเพียงเท่านี้
เผียบเป็นภาษาพื้นเมืองภาคเหนือ แปลว่า เปรียบเทียบ หรืออุปมายกตัวอย่างประกอบ
คติสอนใจจากนิทานพื้นบ้านภาคเเหนือเรื่องนี้:
"การใช้คนนั้นพึงให้เหมาะสมกับความสามารถ และความพอใจ พึงให้เขาได้พักผ่อนบ้างมิฉะนั้นผู้รับใช้จะเสื่อมความนับถือ และเมื่อทนไม่ไหวและขาดความเกรงใจ ก็จะถูกกลั่นแกล้งหรือทำให้เสียชื่อเสียงได้"
Link https://www.nitarn.com/index.php