นิทานอีสป เรื่องคางคกกับสุนัขจิ้งจอก

4 กพ. 56     74291

นิทาน นิทานอีสปสั้นๆ คางคกกับสุนัขจิ้งจอก เรื่องเต็มคางคกกับสุนัขจิ้งจอก นิทานคางคกกับสุนัขจิ้งจอกเรื่องเต็ม

 

นิทาน คางคกกับสุนัขจิ้งจอก

คางคกกับสุนัขจิ้งจอก

 คางคกคุยอวดสุนัขจิ้งจอกว่า "เจ้ารู้ไหมว่า ข้าสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ ข้าเป็นหมอเทวดา มียาวิเศษมากมายหลายขนาน เจ้าเชื่อข้าเถอะนะ"


นิทาน คางคกกับสุนัขจิ้งจอก

สุนัขจิ้งจอกได้ฟังก็หัวเราะเยาะเเล้วว่า "ข้าก็อยากจะเชื่อเจ้าหรอกนะ ถ้าเจ้ารักษาผิวหนัง ตะปุ่มตะป่ำ ของเจ้าให้หายดีได้เสียก่อน "


นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า "ผู้อื่นย่อมเชื่อถือผลงาน มากกว่าคำโอ้อวด"
 
นิทานอีสป เราได้รวบรวมนิทานอีสปทั้ง หมด มีทั้งคลิปนิทาน นิทานภาพ รวมทั้งประวัติความเป็นมาของอีสป และแม้กระทั้งการเปรียบเปรย ความหมายในเชิงลึก ความนัย ที่แฝงไว้ในเรื่องราวของนิทาน ที่อีสปได้เล่าไว้ รวมทั้งสิ่งสำคัญคือ คติคำสอนของอีสปไว้ครบครัน  

นิทานอีสป คือ ?
นิทานอีสป เป็นเรื่องสั้นซึ่งให้คติคำสอน โดยการสอดแทรกศีลธรรมและสอนบทเรียนให้แก่เด็กๆ รูปแบบการนำเสนอน่าสนใจสำหรับเด็กและเนื้อเรื่องมักจะมีอารมณ์ดี และสนุกสนาน และเป็นเรื่องเล่าที่เล่าต่อๆกันมาเป็นตำนาน

ตัวละครของ นิทานอีสป?
ตัวละครของนิทานอีสป มักจะเป็นสัตว์ที่เป็นตัวชูโรงโดยสัตว์จะกระทำและพูดคุยเหมือนคน แต่ว่าจะรักษาลักษณะของสัตว์ชนิดนั้นๆไว้ เช่น เสือดุร้าย ลาโง่เขลาเชื่องช้า หมาป่าเจ้าเล่ห์

ลักษณะเด่นของ นิทานอีสป?
นิทานอีสป เป็นเรื่องราวที่มีชื่อเสียงและให้ความบันเทิงที่ดีสำหรับเด็ก นิทานหรือเรื่องราวทั้งหมดที่สั้นมากๆเพื่อให้เด็กมีความสนใจ และมีสัตว์เป็นตัวเอกของเรื่องซึ่งสัตว์ที่รักของเด็กๆ

การเปรียบเทียบของนิทานอีสป
ตัวละครส่วนใหญ่ของอีสปเป็นสัตว์ เขาเปรียบเทียบให้ หมาจิ้งจอก มักจะหมายถึงคนเจ้าเล่ห์ สิงโตหรือราชสีห์ มักจะหมายถึงหรือเป็นตัวแทนของผู้มีอำนาจ คนบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ผู้ปกครอง หนููหมายถึงผู้ต่ำต้อย ลา มักจะหมายถึงผู้ที่ด้อยสติปัญญา เป็นต้น
Link   https://xn--o3cdbi8era7aon.rakjung.com/
 
 
คางคกกับสุนัขจิ้งจอก

คางคกคุยอวดสุนัขจิ้งจอกว่า

"เจ้ารู้ไหมว่า ข้าสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ ข้าเป็นหมอเทวดา มียาวิเศษมากมายหลายขนาน เจ้าเชื่อข้าเถอะนะ"

สุนัขจิ้งจอกได้ฟังก็หัวเราะเยาะเเล้วว่า

"ข้าก็อยากจะเชื่อเจ้าหรอกนะ ถ้าเจ้ารักษาผิวหนัง ตะปุ่มตะป่ำ ของเจ้าให้หายดีได้เสียก่อน "


นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า "ผู้อื่นย่อมเชื่อถือผลงาน มากกว่าคำโอ้อวด